Page 161 - kpi20756
P. 161

การประชุมวิชาการ
                                                                                        สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21   1 1
                                                                                        ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                            จะเห็นได้ว่าในสังคมประชาธิปไตยการสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบใหม่ หรือ
                      วัฒนธรรมแบบพลเมือง (civic culture) จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมาก การสร้าง

                      วัฒนธรรมทางการเมืองแบบใหม่ในสังคมประชาธิปไตย ยังหมายถึงการกำหนดค่านิยมใหม่
                      ทางการเมือง เพื่อนำไปสู่ความเป็นสังคมประชาธิปไตยที่มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
                      โดยต้องมีลักษณะองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้   69


                            1) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบใหม่ ต้องทำให้เกิดการปฏิบัติการทางการเมืองร่วมกันด้วย

                      ความสมานฉันท์ และมีการส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
                      และกำหนดความเป็นไปเรื่องราวทางสังคมและการเมืองให้มากขึ้น


                            2) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบใหม่ จะต้องทำให้เกิดค่านิยมใหม่ของผู้คนที่มุ่งไปสู่การ
                      รวมตัวกันเป็นกลุ่ม สมาคม หรือองค์กร แล้วจะต้องทำให้เกิดแนวคิดหรือแนวทางปฏิบัติ ที่ทำให้

                      ค่านิยมพื้นฐานเรื่องการสร้างความเสมอภาคและเท่าเทียมได้ถูกนำไปปฏิบัติจริง หรือเกิดแผนงาน
                      โครงการปฏิบัติการทางการเมืองที่สอดคล้องกับค่านิยมพื้นฐานเหล่านั้น


                            3) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบใหม่ ต้องส่งเสริมให้เกิดการอภิปรายปัญหาสาธารณะ
                      ในเรื่องการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมอย่างต่อเนื่อง และต้องมีการกระตุ้นให้เกิด

                      การถกเถียงกันเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ในวัฒนธรรมทางการเมือง
                      แบบใหม่นี้ยังต้องการพื้นที่สาธารณะ เพื่อการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถกเถียงกัน
                      อันจะนำไปสู่ความเข้าใจร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เกิดขึ้น


                            ในท้ายที่สุดแล้ว การพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบใหม่หรือแบบพลเมืองจะเกิดขึ้นได้

                      ก็ต่อเมื่อเกิดการทำหน้าที่ของ “การเป็นพลเมือง” (Citizenship) ในกลุ่มคนส่วนใหญ่ของ
                      ประเทศอย่างแท้จริง จนกลายเป็นค่านิยมของประชาชนหมู่มากในสังคม คุณสมบัติของพลเมือง

                      ที่เอื้อต่อหลักการประชาธิปไตยเพื่อสร้างความเท่าเทียมและแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม
                      เช่น การคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน การรักความยุติธรรม มีความเห็นอกเห็นใจต่อ
                      เพื่อนมนุษย์และผู้ทุกข์ยาก การรู้จักใช้สิทธิของตนเองและรู้จักเคารพสิทธิผู้อื่น มีคุณธรรมและ

                      จริยธรรม มีความสำนึกในการมีส่วนร่วมทางการเมือง เช่น มีความสนใจและกระตือรือร้นที่จะ
                      เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง การกล้าออกมาวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาล

                      ที่สร้างปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมขึ้นให้ความสนใจติดตามควบคุมตรวจสอบการทำงานของ
                      รัฐบาลอย่างจริงจัง มีจิตสำนึกในการรวมกลุ่มเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของสังคมและชุมชน หรือ
                      อาจมีการรวมตัวกันคัดค้านโครงการที่ไม่มีเหตุผลพอ หรืออาจสร้างปัญหาส่งผลกระทบในทาง

                      เสียหายต่อชุมชนท้องถิ่นในด้านต่างๆ เป็นต้น 70







                         69   ประมวล  รุจนเสรี. (2551). ปฏิวัติวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : พรรคประชามติ.
                         70   พรอัมรินทร์  พรหมเกิด. (2557). “วัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนกับการพัฒนาประชาธิปไตย”       เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2
                      วารสารวิชาการโรงเรียนนายเรือ (ฉบับปฐมฤกษ์) พ.ศ. 2557. หน้า 83 - 91.
   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166