Page 14 - kpi20852
P. 14
การวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของประเทศและข้อเสนอแนะการจัดทำ
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
การประมาณการทางการคลังระยะปานกลางคาดว่า การจัดทำ
งบประมาณในช่วงระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ถึง 2570 จะเป็น
การจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลต่อเนื่องทุกปี โดยประเมินว่าสัดส่วนหนี้
สาธารณะต่อ GDP จะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 42.1 ณ สิ้นปีงบประมาณ 2561
เป็นร้อยละ 54.9 ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2570 แม้สัดส่วนหนี้สาธารณะ
ต่อ GDP ที่ระดับราวร้อยละ 55 จะไม่เกินระดับที่คณะกรรมการนโยบาย
การเงินการคลังของรัฐ (คณะกรรมการฯ) กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม
หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงที่เริ่มปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงจะสร้างข้อจำกัดให้กับ
การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อใช้ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของ
ประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2570 รายจ่ายชำระหนี้
รวมของรัฐบาลอาจอยู่ในระดับสูงราวร้อยละ 11.6 ของงบประมาณรายจ่าย
ประจำปี ในขณะที่ รัฐบาลยังมีภาระในการจัดสรรเงินอุดหนุนให้กับองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นอีกราวร้อยละ 8.0 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
อีกด้วย
และในกรณีที่สภาวะเศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวมากกว่ากรณี
ฐาน สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อาจปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับร้อยละ 67.0
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2570 เกินกว่าระดับที่คณะกรรมการฯ กำหนดไว้
ซึ่งจะสร้างความกังวลให้กับสถานการณ์ความยั่งยืนทางการคลังของประเทศ
ไทย และสร้างข้อจำกัดให้กับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี
เพื่อตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติเป็นอย่างมาก
สามารถกล่าวได้ว่างบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2563 ของรัฐบาล ถูกจัดทำขึ้นภายใต้การประมาณการทางด้านรายได้
อย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม การจัดสรรงบประมาณดังกล่าวยังไม่สามารถ
แสดงให้เห็นถึงสัญญาณการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มการขาดดุลงบประมาณ
ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนานได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความกังวลต่อ
ความสามารถในการดำเนินตามกรอบวินัยการเงินการคลังที่คณะกรรมการฯ
สถาบันพระปกเกล้า