Page 53 - kpi20852
P. 53
การวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของประเทศและข้อเสนอแนะการจัดทำ
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
3.3 การประมาณการดุลงบประมาณและหนี้สาธารณะระยะ
ปานกลาง
ภายใต้สมมติฐานที่กำหนดในกรณีฐาน การจัดทำงบประมาณในช่วง
ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ถึง 2570 จะเป็นการจัดทำงบประมาณ
แบบขาดดุลต่อเนื่องทุกปี การขาดดุลงบประมาณน่าจะอยู่ในช่วงระหว่าง
454,000 ล้านบาท ถึง 642,037 ล้านบาท ซึ่งเป็นการขาดดุลงบประมาณ
เฉลี่ยปีละ 542,669 ล้านบาท เมื่อพิจารณาสัดส่วนการขาดดุลงบประมาณ
ต่อ GDP การขาดดุลงบประมาณประจำปีของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก
ร้อยละ 2.59 ต่อ GDP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยเป็น
ร้อยละ 2.65 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2570 (ตารางที่ 3.7) หากพิจารณา
เปรียบเทียบกับแผนการคลังระยะปานกลางของรัฐบาลในช่วงระหว่าง
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 พบว่า งานศึกษานี้ประมาณการขนาดการ
ขาดดุลงบประมาณต่ำกว่าที่รัฐบาลประมาณการไว้โดยเฉลี่ยปีละ 67,113
ล้านบาท อันเป็นผลส่วนหนึ่งจากผลประมาณการรายได้ที่สูงกว่าเป็นสำคัญ
เมื่อพิจารณาดุลงบประมาณเบื้องต้น (ไม่นับรวมรายจ่ายดอกเบี้ย)
คาดการณ์ว่า ดุลงบประมาณเบื้องต้นจะมีลักษณะขาดดุลทุกปี แต่มูลค่า
การขาดดุลไม่สูงนัก การขาดดุลงบประมาณเบื้องต้นจะอยู่ในช่วงระหว่าง
242,645 ล้านบาท ถึง 260,410 ล้านบาท เมื่อพิจารณาสัดส่วนการขาดดุล
งบประมาณเบื้องต้นต่อ GDP จะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.38 ถึงร้อยละ 1.08
จึงเป็นที่สังเกตว่า สาเหตุของการขาดดุลงบประมาณเป็นจำนวนมาก
ในแต่ละปี เป็นผลมาจากรายจ่ายดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็วในช่วงเวลาที่ประมาณการ
จากการขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่องที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้ระดับ
หนี้สาธารณะปรับเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP
ในกรณีฐานพบว่า สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างสุทธิต่อ GDP จะปรับ
เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่ร้อยละ 46.88 เป็นร้อยละ
สถาบันพระปกเกล้า