Page 20 - kpi20858
P. 20

7






                                     1.5.1.1  การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร  (documentary  search)  มีการค้นคว้า
                              รวบรวม  และทบทวนถึงแนวความคิด  ทฤษฎี  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  โดยอาศัย

                              แหล่งข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุ ต ารา หนังสือ สูจิบัตร ผลงานศิลปะ สิ่งพิมพ์ และสื่อ

                              อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความน่าเชื่อถือ

                                     ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับทฤษฎีและแนวทางในการสร้างงานศิลปะที่
                              เกี่ยวข้อง  ซึ่งเป็นการน าเสนอภาพรวมของแนวคิดและทฤษฎีทางศิลปะตะวันตก  กับขนบ

                              นิยมในงานศิลปกรรมไทย  ตลอดจนการรวบรวมเอกสารและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่

                              เกี่ยวข้อง ในด้านประวัติความเป็นมา ความเคลื่อนไหวของรูปแบบทางศิลปะที่รับอิทธิพล

                              จากศิลปะตะวันตก ทั้งก่อนและในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

                                     1.5.1.2 การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) การวิจัยครั้งนี้มีการสัมภาษณ์

                              ผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความเกี่ยวข้อง  โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง  (Non-

                              Structured interview) เนื่องจากเป็นการสัมภาษณ์ที่มีความยืดหยุ่นสูง ท าให้สามารถได้

                              ข้อมูลที่ละเอียดลึกซึ้ง   โดยการสัมภาษณ์นั้นจะมีการตั้งประเด็นค าถามแบบปลายเปิด
                              (Open Ended Question) ซึ่งท าให้ได้ค าตอบที่ตรงกับสภาพความเป็นจริง



                              1.5.2 ประชำกรและกลุ่มตัวอย่ำง

                                     1.5.2.1 ประชากร

                                     ประชากรที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือ  ผลงานจิตรกรรมและประติมากรรม  ที่ได้รับ

                              อิทธิพลจากศิลปะตะวันตก  ซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  คือ

                              ระหว่างปี พ.ศ.2468-2477  โดยจะท าการศึกษาเฉพาะผลงานศิลปกรรมของศิลปินไทย

                                     1.5.2.2 กลุ่มตัวอย่าง


                                     กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้  เป็นผลงานจิตรกรรมและประติมากรรมของ

                              ศิลปินไทย ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ในปี พ.ศ.2468-

                              2477 ซึ่งผู้วิจัยได้ท าการคัดเลือกผลงานด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive
                              sampling) เพื่อให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยมีรายการของการศึกษาดังนี้


                                            1.5.2.2.1 จิตรกรรม แบ่งออกเป็นประเภท จิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งประกอบ
                                     ด้วยวัด 3 แห่ง ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร วัดสามแก้ว จังหวัด

                                     ชุมพร และวัดสุวรรณดาราราม  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยผู้วิจัยจะท าการคัด
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25