Page 8 - kpi20863
P. 8

บทที่ 1

                                                          บทน ำ





                      รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เป็นช่วงทศวรรษที่เกิดความเปลี่ยนแปลง

               ขึ้นอย่างมากในสถาปัตยกรรมไทย ทั้งพัฒนาการวิชาชีพสถาปัตยกรรม แนวความคิดในการออกกฎหมาย

               ควบคุมอาคารและการวางผังเมือง พัฒนาการในเทคนิควิทยาการก่อสร้าง ตลอดจนรูปแบบสถาปัตยกรรม
               ประเภทต่างๆ ทั้งอาคารสาธารณะ อาคารพักอาศัย และศาสนสถาน ที่สะท้อนถึงบริบทของสังคมไทยที่

               เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงเวลาเพียงสิบปีแห่งรัชสมัย  การก่อตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ขึ้น ณ

               จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพ.ศ. 2476  การตั้งสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในพ.ศ. 2477
               ตลอดจนการเตรียมการออกกฎหมายควบคุมอาคาร เทศบาล และการวางผังเมือง ล้วนเป็นพระราชกรณียกิจ

               ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เริ่มขึ้นในช่วงรัชสมัย ทว่ามีผลกระทบสืบเนื่องอย่างลึกซึ้งและ

               ยาวนานมาจนปัจจุบัน
                       งานวิจัยเรื่อง พัฒนาการสถาปัตยกรรมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  (พ.ศ. 2468

               - พ.ศ. 2477)  มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษางานสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ให้เห็นพลวัตของความ

               เปลี่ยนแปลง ทั้งในความต้องการเชิงหน้าที่ใช้สอย รูปแบบ ผู้ออกแบบ เทคนิควิทยาการก่อสร้าง  โดยชี้ให้เห็น
               ถึงบริบทของความเปลี่ยนแปลงในสังคมร่วมสมัย การขยายตัวของเมือง การก่อตัวของวิชาชีพสถาปัตยกรรม

               ตลอดจนชีวิตเมืองสมัยใหม่ อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเข้าสู่สมัยใหม่ (Modernization) ของสยาม

                      ข้อจ ากัดส าคัญในการศึกษาสถาปัตยกรรมในช่วงเวลาดังกล่าวที่ผ่านมา คือการผูกมัดความ
               เปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง กับพัฒนาการในสถาปัตยกรรมไทย ท าให้ปีพ.ศ. 2475 กลายเป็นเส้น

               แบ่งในจินตภาพของสถาปัตยกรรมก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สถาปัตยกรรรมในช่วงสิบปีแห่ง

               รัชสมัยกลายเป็นเพียงภาพสะท้อนของ “อวสานแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์” ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่รัชกาลก่อน
               และต่างไปจาก “สถาปัตยกรรมคณะราษฎร” ในสมัยต่อมา อันเป็นลักษณะของทวิวิภาคเทียม (false

               dichotomy) ที่ละเลยปัจจัยอื่นๆ อันเป็นบริบทของสถาปัตยกรรมในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ

               พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไปอย่างน่าเสียดาย
                      งานวิจัยเรื่องนี้หลีกเลี่ยงลักษณะทวิวิภาคเทียมดังกล่าว โดยให้สถาปัตยกรรมและความเปลี่ยนแปลง

               ในสถาปัตยกรรมเป็นกรอบในการท าความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง

               และวัฒนธรรมในช่วงรัชสมัย  สถาปัตยกรรมช่วยสะท้อนให้เห็นพลวัตของสังคมในครั้งนั้นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
               ว่ามีความต่อเนื่องและความเปลี่ยนแปลงอย่างไร






                                                            1
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13