Page 10 - kpi20863
P. 10

ในเวลาต่อมา มีผลงานวิชาการเกี่ยวกับพัฒนาการของสถาปัตยกรรมไทยที่ส าคัญสองเรื่อง คือหนังสือ

               พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของงานสถาปัตยกรรม อดีต ปัจจจุบัน และอนาคต โดยศาสตราจารย์ ดร.
                                              5
               วิมลสิทธิ์ หรยางกูร และคณะ (2536)  และ สถาปนิกสยาม : พื้นฐาน บทบาท ผลงานและแนวคิด (พ.ศ.
               2475-2537) โดยศาสตราจารย์ผุสดี ทิพทัส (2539)  ผลงานวิชาการทั้งสองเรื่องกล่าวถึงพัฒนาการ
                                                         6
               สถาปัตยกรรมไทยโดยใช้การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นขอบเขตเชิงเวลา แต่ก็มีเนื้อหาที่
               กล่าวถึงบริบททางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ตลอดจนลักษณะการประกอบวิชาชีพสถาปนิก

               รูปแบบงานสถาปัตยกรรมที่มีมาก่อหน้านั้นอย่างสังเขป จึงมีเนื้อหาครอบคลุมถึงความเปลี่ยนแปลงใน

               สถาปัตยกรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 7 อยู่ไม่มากนัก
                       ส าหรับงานวิชาการในช่วงต่อมา ที่กล่าวถึงสถาปัตยกรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 7 ได้แก่หนังสือ การเมือง

               และสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม โดยอาจารย์ชาตรี ประกิตนนทการ (2547)

               อันเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทยในขอบเขตเวลาที่ยาว คือตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระ
               จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถ

               บพิตร แต่มุ่งเน้นที่ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมือง ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ระหว่างสังคม การเมือง กับ

               สถาปัตยกรรมที่ส าคัญในแต่ละยุค  ผลงานของอาจารย์ชาตรีมีอิทธิพลในการเปิดมุมมองใหม่ในการศึกษา
                                           7
               ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย ทว่าในแง่ของพัฒนาการสถาปัตยกรรมไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 นั้น การ

               วิเคราะห์ยังคงจ ากัดอยู่บนตัวอย่างอาคารที่ส าคัญเพียงสองหลัง คือปฐมบรมราชานุสรณ์ และศาลาเฉลิมกรุง

               เท่านั้น
                       ผลงานวิชาการที่ส าคัญอีกเล่มหนึ่ง คือหนังสือ สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม สมัยรัชกาลที่ 4 -

                                                                  8
               พ.ศ. 2480 โดยรองศาสตราจารย์สมชาติ จึงสิริอารักษ์ (2553)  หนังสือดังกล่าววิเคราะห์อาคารที่มีรูปแบบ
               สถาปัตยกรรมตะวันตกในสยาม ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 7 และต่อเนื่องถึงพ.ศ. 2480 โดยแบ่งการ
               วิเคราะห์ตามช่วงรัชกาลเป็นหลัก จากนั้นในแต่ละช่วงจึงแบ่งกลุ่มอาคารตามประเภทการใช้สอย (building

               types) ได้แก่ พระราชวังและวัง บ้านเรือน อาคารราชการ อาคารการศึกษา อาคารสาธารณูปโภค และอาคาร

               พาณิชยกรรม โดยที่แต่ละอาคารมีภาพถ่ายและแบบสถาปัตยกรรมประกอบ นับเป็นการศึกษาพัฒนาการ
               สถาปัตยกรรมไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 ที่ละเอียด ทว่าก็มีข้อจ ากัดว่าผู้เขียนมุ่งศึกษาเฉพาะอาคารที่มีรูปแบบ

               สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกเท่านั้น จึงไม่สามารถให้ภาพรวมของพัฒนาการสถาปัตยกรรมที่ครอบคลุมอาคาร

               ในรูปแบบอื่นได้


               1.2 วัตถุประสงค์ของโครงกำรวิจัย

                       โครงการวิจัย พัฒนาการสถาปัตยกรรมในสยาม ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
               (พ.ศ. 2468 – พ.ศ. 2477) มุ่งศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสถาปัตยกรรมในประเทศไทยในช่วงเวลา

               ดังกล่าว โดยเฉพาะในด้าน (1) พัฒนาการวิชาชีพสถาปัตยกรรม และ (2) พัฒนาการในรูปแบบสถาปัตยกรรม

               ทั้งในเทคนิควิทยาการก่อสร้าง และรูปแบบ (style) ให้ครอบคลุมอาคารประเภทต่างๆ ที่สะท้อนถึงความ


                                                            3
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15