Page 13 - kpi20863
P. 13

บทที่ 2

                            บริบทของสถาปัตยกรรมไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว




               2.1 สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง
                       รัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2477) เป็นรัชสมัยที่สั้นที่สุด นับตั้งแต่เมื่อแรกสถาปนาพระราชวงศ์

               จักรี ทั้งยังเป็นรัชกาลที่ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สิ้นสุดลง เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง

               การปกครองไปสู่ระบอบใหม่ในปีพ.ศ. 2475 ตลอดจนเป็นรัชสมัยที่เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่่า เกิดการ “ดุลย
               ภาพ” เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการคลังของชาติ  อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในรายละเอียด รัชกาลที่ 7 ก็เป็น

               ช่วงเวลาที่สยามเข้าสู่สภาวะสมัยใหม่อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ อันเป็นผลจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก

               ตลอดจนแนวทางในการพัฒนาพระราชอาณาจักรสยามของรัชกาลก่อนหน้า ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระ
               จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ

               เกล้าเจ้าอยู่หัว ดังปรากฏในพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมในประเทศไทยที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดทั้งสาม

               รัชกาลดังกล่าวนั้น


                       2.1.1 เศรษฐกิจ

                       เศรษฐกิจของสยามในช่วงรัชกาลที่ 7 ระบบเศรษฐกิจไทยมีความซับซ้อนมากขึ้นกว่ารัชกาลก่อนๆ แม้
               สยามยังมิได้เข้าสู่กระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรม (Industrialization) อย่างเต็มรูปแบบ ทว่าอุตสาหกรรม

               การเกษตรของสยามก็มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกค่อนข้างมาก ทั้งการผลิตข้าว ไม้สัก ยางพารา และ

               ดีบุก โดยที่ในช่วงพ.ศ. 2433 - 2472 มูลค่าการส่งออกของผลิตภัณฑ์ทั้งสี่ชนิดทวีขึ้นจาก 47.4 ล้านบาท เป็น
                                      1
               103.2 ล้านบาท (2.17 เท่า)  การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมส่งผลให้เมืองกรุงเทพฯ ทวีความส่าคัญในฐานะ
               ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ เกิดการสร้างโรงสี โรงเลื่อย อู่ต่อเรือจ่านวนมาก อันเป็นผลจากการ

               ขยายตัวทางเศรษฐกิจและการผลิตเพื่ออส่งออก  นอกจากนี้ยังมีการลงทุนในอุตสาหกรรมบางประเภทเพื่อการ
               บริโภคในประเทศ เช่น โรงงานเบียร์ โซดา ยาสูบ ไม้ขีดไฟ เครื่องหนัง เป็นต้น ทั้งโดยทุนจากต่างประเทศและ

               ทุนในประเทศ ซึ่งจ่านวนมากเป็นชนชั้นกลางเชื้อสายจีน

                       เมื่อรัชกาลที่ 7 (ภาพที่ 2-01) เสด็จขึ้นครองราชย์ในพ.ศ. 2468 นั้น สถานการณ์ทางเศรษฐกิจสยาม
               เริ่มประสบปัญหา โดยเฉพาะปัญหางบประมาณแผ่นดินขาดดุลต่อเนื่องกันถึงสี่ปีในช่วงปลายรัชกาลที่ 6  อัน

               เป็นผลจากปัจจัยภายนอก เช่น สภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ปัญหาของมาตรฐาน

               ทองค่า (Gold Standard) และการกีดกันทางการค้า  ประกอบกับปัจจัยภายใน เช่น การใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย
               ในราชส่านัก ระบบราชการที่ขยายตัวใหญ่ขึ้น ประกอบกับงบประมาณในการลงทุนสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน

               ที่สูง เช่น การสร้างทางรถไฟและการพัฒนาการชลประทาน เป็นต้น





                                                            6
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18