Page 9 - kpi20863
P. 9

1.1 กำรทบทวนวรรณกรรม

                       ในพ.ศ. 2473 รัฐบาลสยามเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัชชาครั้งที่ 8 ของสมาคมเวชศาสตร์เขตร้อน
               ในภาคตะวันออกไกล (The Eighth Congress of the Far Eastern Association of Tropical Medicine)

               ที่กรุงเทพฯ นับเป็นการประชุมนานาชาติที่ส าคัญที่สุดครั้งหนึ่งในช่วงรัชสมัย  ในครั้งนั้นรัฐบาลได้จัดพิมพ์

                                                                                                  1
               หนังสือ Siam: General and Medical Features เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศสยามในแง่มุมต่างๆ
               ส าหรับสถาปัตยกรรมของสยามนั้น หนังสือดังกล่าวได้สรุปสาระส าคัญของสถาปัตยกรรมไทยประเพณี ทั้ง

               รูปแบบ การใช้สอย สัญลักษณ์ และวัสดุก่อสร้าง จากนั้นจึงกล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงเมื่อสยามเริ่มได้รับ

               อิทธิพลตะวันตก ว่าเกิดอาคารรูปแบบ “ยุโรป” แบบต่างๆ ตึกแถวตามอย่างเมืองฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ขณะที่
               บริษัทห้างร้านมีอาคารรูปแบบเรอเนสซองส์ (in the Renaissance style)  สถานที่ราชการก็เป็นอาคารแบบ

               ยุโรปไปด้วย โดยที่มีพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมอิตาเลียนเรอเนสซองส์สมัยใหม่

               (modern Italian Renaissance) บทความดังกล่าวสรุปสภาวการณ์ของสถาปัตยกรรมในสมัยนั้นว่า ยังไม่เป็น
               ที่น่าพอใจ เพราะยังมิได้มีการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการและขนบจารีต

               (needs, desires, and traditions) ของสยามแท้ๆ  ขณะที่สถาปัตยกรรมยุโรปสมัยใหม่ (modern

               European architecture) นั้นก็มีรากเหง้าที่ต่างไปจากรากเหง้าของสถาปัตยกรรมไทยโดยสิ้นเชิง  บทความ
               ดังกล่าวสรุปสภาพปัจจุบันและอนาคตของสถาปัตยกรรมไทยไว้ว่า

                       “Some attempt has been made to carry on an adaptation of these traditions in the

               case of a few recent buildings such as the Vajiravudh College and the scheme for the
               Chulalongkorn Memorial University.  More effort will doubtless be made in the future to

               continue the development of this very distinctive and national style of Siamese architecture,

                                                                                               2
               which by effort and experience can be simplified and adapted to modern needs.”
                       บทความดังกล่าวอาจนับได้ว่าเป็นข้อเขียนแรกๆ ที่ประเมินสภาวการณ์ของสถาปัตยกรรมไทยในช่วง

               รัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในช่วงเวลาไม่กี่ปีก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพ.ศ.

               2475 นับแต่นั้นเป็นต้นมาก็ไม่ปรากฏว่ามีการศึกษาพัฒนาการสถาปัตยกรรมในช่วงรัชกาลที่ 7 โดยเฉพาะแต่
               อย่างใด จนถึงราวพ.ศ. 2532 ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี จึงเรียบเรียงเอกสารประกอบการ

               สอน รายวิชาอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและชุมชน เรื่อง สถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 7 ขึ้น โดยวิเคราะห์บริบท

               ของงานสถาปัตยกรรมในช่วงรัชสมัย ได้แก่ การสร้างงานสาธารณูปโภคเพื่อประชาชน ในการสร้างปฐมบรม
               ราชานุสรณ์และสะพานพระพุทธยอดฟ้า  การท านุบ ารุงศิลปวัฒนธรรม ในการบูรณะพระที่นั่งจักรีมหา

               ปราสาท  รูปแบบสถาปัตยกรรมพักอาศัย ได้แก่ วังไกลกังวล ต าหนักในวังสระปทุม และบ้านเรือนราษฏร

               สถาปัตยกรรมศาสนสถาน คือพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์  และการสร้างอาคารสาธารณะ ได้แก่ โฮเต็ลรถไฟ
                                     3
               หัวหิน และศาลาเฉลิมกรุง  ทั้งนี้ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ได้น าเสนอข้อเขียนดังกล่าวในการ
               ประชุมทางวิชาการเนื่องในวโรกาส 100 ปี พระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพ.ศ.

                                                       4
               2537 จึงมีการตีพิมพ์เอกสารนั้นขึ้นเป็นครั้งแรก

                                                            2
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14