Page 79 - kpi20863
P. 79

สี่เหลี่ยมผืนผ้าสามส่วน เรียงโอบล้อมลานโล่งตรงกลางจนเป็นรูปตัวยู (U) เปิดออกสู่ด้านแม่น้ า  ผังอาคารแบบ

               มีทางเดินชิดริมอาคาร (single-load corridor) วางทางเดินไว้รอบลานโล่ง บันไดและห้องน้ าอยู่ที่มุมอาคาร
               ด้านตะวันตกเฉียงเหนือและด้านตะวันตกเฉียงใต้ รูปแบบสถาปัตยกรรมเรียบเกลี้ยง เน้นความโปร่งของ

               ระเบียงทางเดิน มีเสาและราวกันตกโปร่งๆ รองรับ หลังคาอาคารบางส่วนเป็นหลังคาแบน บางส่วนมีหลังคา

               ปั้นหยา ทว่าท าลูกมะหวดเป็นแผง (parapet) วิ่งรอบอาคาร ประกอบกับการยื่นพื้นชั้นดาดฟ้าออกมาเป็นกัน
               สาดโดยรอบ ท าให้อาคารมีการแสดงออกเชิงโครงสร้าง ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ใช้สอยกับพื้นที่

               สัญจรออกมาอย่างค่อนข้างเด่นชัด


                       4.3.11 โรงเบียร์บุญรอดบริวเวอรี่

                       โรงเบียร์บุญรอดบริวเวอรี่ (ภาพที่ 4-75) ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ าเจ้าพระยาที่ต าบลบางกระบือ เป็นธุรกิจที่

               พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) ด าริขึ้นในพ.ศ. 2471 ด้วยแต่เดิมท่านมีกิจการเรือโดยสารระหว่าง
               พระนครกับฝั่งธนบุรี แต่เมื่อทราบว่ารัฐบาลก าลังสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าเพื่อเชื่อมสองฝั่งเข้าด้วยกัน จึง

               ด าริตั้งโรงต้มกลั่นเบียร์ขึ้น โดยยื่นขออนุญาตต่อทางการในพ.ศ. 2473 จากนั้นจึงได้เดินทางไปศึกษาดูงานการ

               ตั้งโรงงานท าเบียร์ ผลิต และจ าหน่ายเบียร์ ทั้งในเมืองไซ่ง่อนและในทวีปยุโรป จนถึงพ.ศ. 2475 จึงได้เช่าที่ดิน
               ที่ของเจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล. เฟื้อ พึ่งบุญ) ที่บางกระบือ ซึ่งเป็นโรงสีไฟเก่า แล้วว่าจ้างให้บริษัทคริสเตียนี

               และนีลเสน (Christiani & Nielsen Co.) ออกแบบโรงงานเบียร์ โดยมีนายช่างชาวเยอรมันควบคุมการติดตั้ง

               เครื่องจักรผลิตเบียร์ซึ่งน าเข้าจากประเทศเยอรมนี โดยรัชกาลที่ 7 ทรงสนพระทัย ทรงช่วยซื้อหุ้นในบริษัทบุญ
                                                                                                  45
               รอดบริวเวอรี่ และเสด็จพระราชด าเนินมาทอดพระเนตรการก่อสร้างโรงเบียร์ถึงสองครั้งในพ.ศ. 2476  โดยที่
                                                                    46
               โรงงานเริ่มผลิตเบียร์ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2476 เป็นต้นมา   โรงเบียร์บุญรอดบริวเวอรี่เป็นอาคาร
               อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จัดวางกลุ่มอาคารตามสายงานการผลิต โดยแยกอาคารที่ผลิตเบียร์ น้ าหวาน และ
               โซดาออกจากกัน อาคารโรงงานผลิตเบียร์เป็นอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 6 ชั้น หลังคาแบน มี

               หน้าต่างกว้างและสูงใหญ่ ไม่มีชายคา ท าให้ดูทันสมัย ส่วนอาคารอื่นๆ บางหลังมีหลังคาโค้งประทุน แต่ท าผนัง

               (parapet) บังมิให้เห็น ด้วยประสงค์ให้โรงงานดูทันสมัย สะอาด และมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี อาคารหลักๆ
               ในบริเวณโรงงานยังคงเครื่องตกแต่งสถาปัตยกรรมแบบอาร์ต เดโค (Art Deco) บางประการ เช่น คิ้วบัว บัว

               ยอดผนัง หรือการท าเสาเก็จ (pilaster) แบนแนบกับผนังอาคารทางตั้ง เพื่อให้อาคารดูสูงสง่า เป็นต้น


                       4.3.12 เรือนจ ากลางบางขวาง

                       เรือนจ ากลางบางขวาง ตั้งอยู่ที่เมืองนนทบุรี เป็นโครงการที่เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมี

               แนวความคิดว่าน่าจะย้ายเรือนจ ากองมหันตโทษออกไปจากพระนคร รัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวง
               ยุติธรรมและกระทรวงนครบาลร่วมกันจัดซื้อที่ดินริมแม่น้ าเจ้าพระยา ที่ต าบลบางขวาง อ าเภอตลาดขวัญ

               จังหวัดนนทบุรี ทว่าโครงการได้ระงับไป  ถึงพ.ศ. 2470 รัฐบาลจึงรื้อฟื้นโครงการเรือนจ ากลางบางขวางขึ้นมา

               โดยก าหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของการย้ายศูนย์ราชการเมืองนนทบุรีมาที่บริเวณนี้ จัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมเพื่อสร้าง


                                                           108
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84