Page 106 - 22373_Fulltext
P. 106
คน (30.30%) รองลงมา ได้แก่ ช่วงอายุ 21-40 ปี จ านวน 17,658 คน (28.84%) และช่วงอายุ 41-60 ปี
จ านวน 16,213 คน (26.48%) ดังนั้นเทศบาลจึงมีเด็กและเยาวชนจ านวนมาก (เทศบาลนครยะลา, 2562ก)
ในส่วนของผู้ด้อยโอกาสนั้น เทศบาลนครยะลา มีจ านวนผู้มีสิทธิ์ที่จะได้รับการช่วยเหลือ และให้
การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพในส่วนของผู้สูงอายุจ านวน 5,920 คน และผู้พิการ 1,005 คน (เทศบาลนครยะลา,
2562ก)
2) สังคมและเศรษฐกิจ เดิมเทศบาลนครยะลารู้จักกันในชื่อ “บ้านบิบง” ผู้คนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ได้
อพยพเข้ามาอยู่ตามเส้นทางรถไฟกรุงเทพ-สุไหงโกลก โดยกลุ่มแรกที่เข้าเป็นชาวมุสลิมจากปัตตานี ตามมาด้วย
ชาวจีนที่อพยพมาจากปัตตานีเช่นเดียวกับชาวมุสลิม ไม่นานชาวไทยจากสุราษฎร์ธานีได้อพยพมาตาม
พระรัฐกิจวิจารณ์ ผู้ซึ่งเคยมาอยู่ที่ยะลาแล้วประทับใจในเมืองยะลาจึงอพยพครอบครัวมาอยู่
ในเขตเทศบาลนครยะลามีความเป็นพหุวัฒนธรรมสูง เนื่องจากมีการอยู่รวมกันของชาวไทยพุทธ
ไทยมุสลิม ชาวมลายู ชาวจีน ซึ่งท าให้เกิดการผสานกันทางด้านวัฒนธรรม วิถีปฏิบัติ รวมไปถึงภาษาที่ใช้ใน
ท้องถิ่น โดยภายในเทศบาลนครยะลามีส าเนียงการพูดที่แตกต่างกันอยู่สองรูปแบบ แบบแรกคือ ภาษาไทยถิ่น
ยะลา เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ที่มีการผสมผสานค าจากภาษามลายู มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางภาษาเล็กน้อย
และรูปแบบที่สอง คือ ภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี เป็นภาษามลายูที่ถูกใช้ในท้องถิ่นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
มีส าเนียงคล้ายภาษามลายูท้องถิ่นกลันตัน โดยภาษาท้องถิ่นปัตตานี มีเพียงภาษาพูดแต่ไม่มีภาษาเขียน ไม่มี
ตัวอักษร (เทศบาลนครยะลา, 2562ก; เทศบาลนครยะลา, 2564 ; แพร ศิริศักดิ์ด าเกิง, 2546)
การวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล ้าทางด้านการศึกษา
ในส่วนของสภาพเศรษฐกิจ จากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ส่งผล
กระทบให้เศรษฐกิจภายในเขตเทศบาลนครยะลาตกต่ ามาตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ในปี พ.ศ. 2561
ประชาชนมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ยอยู่ที่ 114,117 บาทต่อปี โดยลดลงจากปี พ.ศ. 2560 โดยอยู่ที่ 119,725 ต่อคน
ต่อปี โดยภายในเทศบาลนครยะลามีการประกอบพาณิชยกรรมอยู่มาก ท าให้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมการ
ค้าขายมีอยู่ร้อยละ 31.64 รองลงมาคืออาชีพรับจ้าง 21.14 และรับราชการอยู่ที่ 13.61 (เทศบาลนครยะลา,
2562ก)
เทศบาลนครยะลามีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ไม่มากนัก อุตสาหกรรมหลักของเทศบาลนครยะลา คือ
กิจการแปรรูปไม้ยางพารา ก่อสร้างและการบริการ โดยส่วนใหญ่เป็นโรงงานจ าพวกที่ 3 ได้แก่ โรงงานประเภท
ชนิด และขนาดที่จะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะด าเนินการได้ (เทศบาลนครยะลา, 2564)
3) วัฒนธรรม ภายในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองยะลา มีจ านวนผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 51.8 โดย
มีวัด 6 แห่ง ส่วนผู้นับถือศาสนาอิสลาม มีร้อยละ 48.0 โดยมีจ านวนมัสยิด 12 แห่ง นอกจากนี้ยังมีผู้นับถือ
ศาสนาอื่น ๆ เช่น คริสต์ ฮินดู ร้อยละ 0.2 ของจ านวนประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลนครยะลา มีจ านวน
โบสถ์ 4 แห่ง และด้วยพื้นที่เทศบาลนครยะลาเป็นพื้นที่พหุวัฒนธรรมท าให้มีประเพณีที่มีความหลากหลาย
ทั้งที่เป็นประเพณีตามศาสนาพุทธและอิสลาม รวมไปถึงประเพณีตามเชื้อชาติ เช่น ประเพณีชักพระ ประเพณี
ไหว้พระจันทร์ มาแลปูโละ การเข้าสุหนัต (มาโชะยาวี) วันฮารีรายอ (เทศบาลนครยะลา, 2562ก)
4) สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะในเขตเทศบาลนครยะลา
ประชาชนสามารถเดินทางภายในเขตเทศบาลได้ด้วยรถโดยสารขนาดเล็ก (รถตุ๊กตุ๊ก) และรถจักรยานยนต์
82 วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า