Page 111 - 22373_Fulltext
P. 111
และสังคมให้มีคุณภาพ จ านวน 84.561 ล้านบาท (39.0%) และยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน จ านวน 14.999 ล้านบาท (6.9%) (องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี, 2563)
2.11.2 บริบทเชิงพื นที่
1) ลักษณะทางกายภาพ พื้นที่จังหวัดปัตตานีเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ทางตอนเหนือและทาง
ตะวันออกของจังหวัด มีหาดทรายยาวและเป็นที่ราบชายฝั่ง กว้างประมาณ 10-30 กิโลเมตร มีความยาว
ชายฝั่งทั้งหมด 116.40 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อ าเภอชายทะเล 6 อ าเภอ ประกอบด้วย อ าเภอหนองจิก
อ าเภอเมืองปัตตานี อ าเภอยะหริ่ง อ าเภอปะนาเระ อ าเภอสายบุรี และอ าเภอไม้แก่น นอกจากนี้ยังมีพื้นที่
ราบลุ่มบริเวณตอนกลาง และตอนใต้ของจังหวัด มีแม่น้ าปัตตานีไหลผ่าน ที่ดินมีความเหมาะสมในการ
เกษตรกรรม ปลูกข้าว ยางพารา ได้แก่ พื้นที่ในเขตอ าเภอแม่ลาน อ าเภอยะรัง อ าเภอยะหริ่ง อ าเภอมายอ และ
อ าเภอปะนาเระ รวมถึงพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่ภูเขา ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนน้อยอยู่ทางตอนใต้ของอ าเภอโคกโพธิ์
อ าเภอกะพ้อ และทางตะวันออกของอ าเภอสายบุรีบริเวณดังกล่าวเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และเป็นพื้นที่
ปลูกลองกอง ยางพารา (องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี, 2562)
2) ประชากร ในปี 2563 องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี มีประชากรรวมทั้งสิ้น 726,015 คน
ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จ านวน 367,404 คน (50.6%) ขณะที่เพศชาย มีจ านวน 358,611 คน (49.4%) โดยมี
ครัวเรือนจ านวนทั้งสิ้น 186,789 ครัวเรือน (องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี, 2562)
3) สังคมและเศรษฐกิจ เมืองปัตตานีเป็นเมืองที่มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณโดยเป็นเมืองท่า
และเป็นศูนย์กลางของรัฐ ด้วยลักษณะที่ตั้งของเมืองที่อยู่บนเส้นทางคาบข้ามสมุทร ซึ่งเป็นเส้นทางการค้า
ทางเรือระหว่างอินเดีย อาหรับ และเปอร์เซีย ซึ่งอยู่ทางตะวันตกกับจีนซึ่งอยู่ทางตะวันออก ท าให้ปัตตานีได้รับ
อิทธิพลทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ส่งผลให้ประชาชนในปัตตานีมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับ
วัฒนธรรมอื่นได้ดี แต่มีความขัดแย้งกับรัฐไทยอยู่บ้างเนื่องจากปัญหาทางด้านประวัติศาสตร์ และความต่างทาง
ศาสนา ซึ่งภาครัฐมักจะเพ่งเล็งชาวอิสลามอยู่เสมอ ในปัตตานีมีกลุ่มชาติพันธุ์หลัก ๆ อยู่ 3 ชาติพันธุ์ ได้แก่
เชื้อชาติไทย เชื้อชาติจีน และเชื้อชาติปัตตานีมลายู (องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี, 2563)
ในส่วนของสภาพเศรษฐกิจ จังหวัดปัตตานีมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด มูลค่า 54,308 ล้านบาท
และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเฉลี่ยต่อหัว 86,571 บาท อุตสาหกรรมการเกษตรเป็นอุตสาหกรรมหลักของ
จังหวัด มีจ านวนครัวเรือนร้อยละ 48.78 ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเกษตร โดยมียางพาราเป็นพืชหลักที่ปลูกมาก การวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล ้าทางด้านการศึกษา
ที่สุดในภาคอุตสาหกรรม มีจ านวนปลูกทั้งสิ้น 369,956 ไร่ นอกจากนี้ยังมีการปลูกข้าว ปาล์มน้ ามัน ไม้ผล
อย่างลองกอง ทุเรียน เงาะ มะพร้าว นอกจากภาคเกษตรกรรมแล้ว ภายในจังหวัดปัตตานียังมีการประกอบ
อาชีพในภาคอุตสาหกรรมการประมงซึ่งมีมูลค่า 9,358 ล้านบาท และอุตสาหกรรมปศุสัตว์ โดยพบการเลี้ยงไก่
โคเนื้อและสุกร (องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี, 2563)
4) วัฒนธรรม จังหวัดปัตตานีมีผู้นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 86.25 ของจ านวนประชากรในเขต
องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี มีจ านวนมัสยิด 675 แห่ง ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 13.7 ของจ านวน
ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี มีจ านวนวัด 83 แห่ง และจ านวนที่พักสงฆ์ 9 แห่ง ผู้นับถือ
ศาสนาคริสต์/อื่น ๆ ร้อยละ 0.1 ของจ านวนประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี มีโบสถ์ 5 แห่ง
วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า 87