Page 107 - 22373_Fulltext
P. 107

รับจ้าง ซึ่งให้บริการตามสถานที่ส าคัญต่าง ๆ ในเทศบาลนครยะลา นอกจากนี้ยังมีระบบขนส่งมวลชนระหว่าง
                จังหวัด โดยมีทั้งรถบัสปรับอากาศที่วิ่งระหว่างเทศบาลนครยะลากับกรุงเทพมหานครและภูเก็ต และรถตู้ที่

                ให้บริการในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง โดยให้บริการขนส่งระหว่างเทศบาลนครยะลากับอ าเภอหาดใหญ่ อ าเภอ
                เมืองสงขลา อ าเภอเมืองนราธิวาส อ าเภอโกลก อ าเภอสุไหงโกลก และอ าเภอเบตง นอกจากนี้ยังมีรถโดยสาร
                ประจ าทาง ซึ่งให้บริการระหว่างเทศบาลนครยะลากับเมืองใกล้เคียง คือ อ าเภอเมืองปัตตานี อ าเภอปะนาเระ

                อ าเภอสายบุรี อ าเภอโคกโพธิ์ อ าเภอบันนังสตา และอ าเภอคอกช้าง

                          ส าหรับการให้บริการไฟฟ้าในเขตเทศบาลนครยะลา อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วน
                ภูมิภาคจังหวัดยะลา และงานไฟฟ้าเทศบาลนครยะลา โดยให้บริการและจ าหน่ายกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในอาคาร

                บ้านเรือนและไฟฟ้าสาธารณะตามถนนสายต่าง ๆ อย่างทั่วถึง ปัจจุบันในเขตเทศบาลนครยะลามีครัวเรือนที่มี
                ไฟฟ้าใช้ จ านวน 25,168 ครัวเรือน ส่วนการประปาเทศบาลนครยะลาได้ด าเนินการก่อสร้างระบบการประปา

                ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2495 และเริ่มด าเนินกิจการสัมปทานปฏิบัติงานภายใต้การก ากับดูแลโดยให้ค าปรึกษา โดย
                กรมโยธาธิการ ปัจจุบันมีผู้ใช้น้ าประปาในเขตเทศบาลนครยะลา จ านวน 19,126 ราย มีก าลังการผลิต

                น้ าประปา ประมาณ 25,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน มีปริมาณน้ าส ารองที่พร้อมให้บริการ 14,600 ลูกบาศก์เมตร
                ซึ่งสามารถให้บริการน้ าประปาครอบคลุมพื้นที่ทั้งเขตเทศบาลนครยะลา (เทศบาลนครยะลา, 2564)

                        2.10.3 บริบทด้านการจัดการศึกษา

                          1) ด้านหน่วยงาน และบุคลากร เทศบาลนครยะลา มีหน่วยงานที่ดูแลโดยตรงด้านการศึกษาของ

                เด็ก และเยาวชน ซึ่งได้แก่ ส านักการศึกษา ซึ่งเป็นส านักที่เทศบาลก าหนดให้มีหน้าที่รับผิดชอบ คือ (1) จัด
                การศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน (2) ส่งเสริมและพัฒนา

                บุคลากรให้มีความรู้และทักษะ เพื่อการท างานที่มีคุณภาพ (3) ส่งเสริมกีฬา การออกก าลังกายและนันทนาการ
                ให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชน (4) ส่งเสริมศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม จารีตประเพณีที่หลากหลายของ

                ท้องถิ่น (5) ส่งเสริมการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล โดยส านักการศึกษามีหน่วยงานย่อยที่ดูแลด้าน
                การศึกษา ทั้งหมด 9 หน่วยงาน มีบุคลากรในหน่วยงานที่ดูแลด้านการศึกษาโดยตรง โดยมีจ านวน 430 คน
                ประกอบไปด้วย พนักงานและลูกจ้างเทศบาลประจ าในส านักการศึกษา จ านวน 65 คน พนักงานครูและ

                ลูกจ้างประจ าในสถานศึกษา 365 คน

                          2) ด้านนโยบาย ส าหรับแผนพัฒนาท้องถิ่น ประเด็นเรื่องการศึกษาไม่ปรากฏอยู่ในวิสัยทัศน์การ
                พัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลนครยะลา แต่ไปปรากฏอยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 2 ได้แก่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้าน                 การวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล ้าทางด้านการศึกษา

                การศึกษา ประเพณี และวัฒนธรรม โดยเฉพาะในแผนงานการศึกษา ซึ่งเมื่อพิจารณาจากบัญชีสรุปโครงการ
                พัฒนาตามแผนพัฒนาท้องถิ่นพบว่าเทศบาลนครยะลา มีโครงการพัฒนาในช่วง 5 ปี ในส่วนของแผนงาน

                การศึกษา จ านวน 1,751 โครงการ (54.6%) จ านวนเงิน 4,078.951 ล้านบาท (45.8%) ซึ่งเมื่อพิจารณาจาก
                แผนพัฒนาท้องถิ่น นับได้ว่าเทศบาลนครยะลาให้ความส าคัญกับการศึกษาค่อนข้างมาก


                          อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากบัญชีสรุปโครงการ และงบประมาณ ตามแผนการด าเนินงาน
                ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของเทศบาลนครยะลา พบว่า ในปีงบประมาณดังกล่าว เทศบาลมีโครงการ
                ในแผนงานการศึกษา จ านวน 5 โครงการ (1.8%) โดยมีจ านวนงบประมาณเพียง 4.800 ล้านบาท (3.9%)

                (เทศบาลนครยะลา, 2562ก)




                                                               วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า   83
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112