Page 67 - 22373_Fulltext
P. 67

จังหวัด ภายในเทศบาลต าบลป่าก่อด ามีการให้บริการไฟฟ้าครอบคลุมทุกพื้นที่ของเทศบาล โดยมีการไฟฟ้า
                ส่วนภูมิภาคจังหวัดเชียงรายเป็นผู้ให้บริการ ส่วนระบบประปาภายในเขตเทศบาลต าบลป่าก่อด าเป็นระบบ

                ประปาของหมู่บ้าน ซึ่งให้บริการในเขตหมู่ที่ 2, 3, 7, 8, 10 และ 12 โดยในหมู่ที่ 9 แต่ละครัวเรือนจะมีบ่อ
                บาดาลภายในบ้าน จึงไม่มีการให้บริการประปาหมู่บ้าน (เทศบาลต าบลป่าก่อด า, มปป.ก)

                        2.3.3 บริบทด้านการจัดการการศึกษา

                          1) ด้านหน่วยงานและบุคลากร เทศบาลต าบลป่าก่อมีหน่วยงานดูแลรับผิดชอบโดยตรงด้าน

                การศึกษา ได้แก่ กองการศึกษา ได้แก่ งานบริหารการศึกษา งานการเงินและบัญชี งานกีฬาและนันทนาการ

                งานการศึกษาปฐมวัย งานโรงเรียน และงานธุรการ มีการก าหนดหน้าที่ของกองการศึกษาอย่างชัดเจน โดย
                ก าหนดให้มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเทศบาล อันได้แก่ การจัดการศึกษา
                ก่อนปฐมวัย การจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา งานบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การเตรียมความพร้อม

                ในการรับถ่ายโอนการจัดการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ การจัดกิจกรรมการพัฒนาเด็ก และเยาวชน
                การจัดกิจกรรมพัฒนาอาชีพเยาวชน การมีส่วนร่วมสนับสนุนส่งเสริมการจัดการศึกษาแก่สังกัดต่าง ๆ การท านุ

                บ ารุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับมอบหมาย
                นอกจากนี้กองการศึกษายังเป็นกองที่มีบุคลากรมากที่สุดของเทศบาลฯ โดยมีบุคลากรจ านวนสิ้น 51 คน

                (เทศบาลต าบลป่าก่อด า, มปป.ค)

                          2) ด้านนโยบาย ในด้านการจัดการศึกษา จากวิสัยทัศน์องค์กรจะเห็นว่า เทศบาลให้ความส าคัญ

                กับการศึกษา โดยเน้นการเสริมสร้างการศึกษาทุกช่วงวัย และก าหนดไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนา ยุทธศาสตร์
                ที่ 3 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สังคม และการเมือง โดยมีเป้าประสงค์ส่วนหนึ่งเพื่อส่งเสริม

                การศึกษา ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาเด็ก และสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม โดยมีตัวชี้วัด
                ได้แก่ นักเรียนมีความพร้อมในด้านความรู้ และความสามารถในการประเมินจากหน่วยงาน จ านวนนักเรียน
                ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับจ านวนที่มีการเปลี่ยนแปลง ค่าเป้าหมายคือ จ านวนนักเรียนที่ได้รับการศึกษา

                ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้น จ านวนเด็ก และเยาวชนในต าบลมีศักยภาพด้านการศึกษา และด้านสุขภาพที่ดี โดยมี

                กลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กลยุทธ์การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพทุกระดับ ทั้งใน และนอก
                ระบบ ครอบคลุมทุกช่วงวัยให้เรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมภาษาอังกฤษ และภาษาประเทศเพื่อนบ้าน (เทศบาล
                ต าบลก่อด า, มปป.ก)


                          ทั้งนี้เทศบาลต าบลป่าก่อด าได้ระบุจุดแข็งทางด้านการศึกษาของพื้นที่ว่า เทศบาลต าบลป่าก่อด า            การวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล ้าทางด้านการศึกษา
                อยู่ติดกับตัวจังหวัด ท าให้ประชาชน เยาวชนในพื้นที่มีสถานศึกษาในการศึกษาหาความรู้ให้เลือกมาก อีกทั้งยัง

                สะดวกในการติดต่อกับส่วนราชการ แหล่งสถานศึกษา และการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการ โดย
                เทศบาลต าบลป่าก่อด าให้ความส าคัญกับการศึกษาเพื่อให้นักเรียนไม่ต้องไปเรียนไกลบ้าน โดยการเปิดโรงเรียน

                เทศบาล 1 (ป่าก่อด า) ซึ่งเปิดการเรียนการสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และยังจัดให้มีโครงการโรงเรียน
                ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นการให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในชุมชนให้มีการศึกษา โดยเทศบาลฯ มีโอกาสคือ เทศบาลฯ อยู่ใกล้

                ตัวจังหวัด การประสานงานกับหน่วยงานรับผิดชอบท าให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว และเทศบาลยังได้รับ
                ความไว้วางใจจากประชาชนในเรื่องของการศึกษา ซึ่งมีนโยบายจะขยายชั้นเรียนจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย






                                                               วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า   43
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72