Page 72 - 22373_Fulltext
P. 72

2.4.2 บริบทเชิงพื นที่

                        1) ลักษณะทางกายภาพ  เทศบาลเมืองวิเชียรบุรีมีพื้นที่ประมาณ 26.54 ตารางกิโลเมตร หรือ
              ประมาณ 16,587.5 ไร่ ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม มีล าห้วย คลอง และสระน้ ากระจายตามพื้นที่ เหมาะแก่

              การเพาะปลูกพืชทุกชนิด เช่น ข้าว อ้อย มันส าปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ ส่งผลให้พื้นที่เกือบทั้งหมด หรือ
              ร้อยละ 90 เป็นพื้นที่ท าเกษตร โดยพื้นที่เทศบาลมีแม่น้ าป่าสัก คลองคอเอก และคลองห้วยชันไหลผ่าน

                        2) ประชากร ในปี 2562 อ าเภอวิเชียรบุรีมีประชากรทั้งสิ้น 22,650 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง

              จ านวน 11,883 คน (52.5%) ส่วนเพศชายมีจ านวน 10,767 คน (47.5%) มีจ านวนครัวเรือน 8,497 ครัวเรือน

              โดยมีผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการที่ได้รับการสงเคราะห์จากเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี จ าแนกเป็นผู้สูงอายุ 3,632 ราย
              ผู้พิการ 460 ราย และผู้ป่วยเอดส์ 13 ราย โดยเทศบาลเมืองวิเชียรบุรีได้ด าเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ
              ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ที่รับลงทะเบียน และท าหน้าที่ประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

              การท าบัตรคนพิการ  การด าเนินการโครงการฝึกอบรมทักษะอาชีพให้กับประชาชนทั่วไป โครงการสงเคราะห์
              ครอบครัวผู้ยากไร้ที่ตกเกณฑ์ จปฐ. สร้างและซ่อมที่อยู่อาศัยให้กับผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อย ผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง

              ประสานการให้ความช่วยเหลือของจังหวัด อ าเภอ หน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุน เป็นต้น

                        3) สังคมและเศรษฐกิจ  สภาพสังคมโดยทั่วไปของเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี เป็นสังคมกึ่งเมือง

              กึ่งชนบท ประชาชนภายในเขตเทศบาลมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย เนื่องจากบางส่วนอพยพมาจากจังหวัดชัยภูมิ
              ท าให้สามารถพบวัฒนธรรมอีสานได้ในเขตพื้นที่นี้ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากภาษาที่น ามาใช้ในชีวิตประจ าวัน
                  การวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล ้าทางด้านการศึกษา
              บางกลุ่มจะใช้ภาษาไทย-อีสานในการสนทนา นอกจากนี้ยังพบประเพณีของคนภาคอีสานจัดขึ้นในเขตเมือง
              วิเชียรบุรี อาทิ บุญบั้งไฟ เป็นต้น (เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี, 2562ก)

                        ในส่วนของสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของเทศบาลเมืองวิเชียรบุรีอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี เนื่องจาก

              ประชาชนมีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย ทั้งเกษตรกรรม เช่น ท านาปี ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน
              และรับจ้างทั่วไป รวมถึงการท าประมงพื้นบ้านในแม่น้ าป่าสัก และล าคลองต่าง ๆ ซึ่งมีจ านวนมาก เลี้ยงสัตว์

              เช่น โค หมู ไก่ เป็ด ดังนั้นพื้นที่โดยรอบเขตเทศบาลเมืองวิเชียรบุรีจึงเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ทั้งสวนผลไม้ และ
              พื้นที่นา ในส่วนของพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พื้นที่บางส่วนในเขตเทศบาลเมืองวิเชียรบุรีเป็นเขตพื้นที่

              เศรษฐกิจค้าขาย มีตลาดจ านวน 3 แห่ง ได้แก่ ตลาดสดมิตรสาลี ตลาดน้อยนาไร่เดียว และตลาดส่งเสริมอาชีพ
              เศรษฐกิจพอเพียงวัดในเรืองศรี (เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี, 2562ก)

                        4) วัฒนธรรม  ส าหรับศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองวิเชียรบุรีส่วนใหญ่

              นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาเป็นศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ ตามล าดับ โดยภายในเขตเทศบาลเมือง

              วิเชียรบุรีมีศาสนสถาน 9 แห่ง ทั้งหมดเป็นพุทธศาสนสถาน ได้แก่ วัดในเรืองศรี วัดป่าเรไรทอง วัดประชานิมิต
              วัดบุญชัยวนาราม  วัดวิเชียรบ ารุง (วัดท่าน้ า)  วัดห้วยชันวราราม  วัดศรีประชาธรรม  วัดเสลินทราราม และวัด
              สามแยก (เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี, 2562ก)


                        ในส่วนของประเพณีในชุมชนเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี ส่วนมากเป็นประเพณีตามศาสนาพุทธซึ่งจัดขึ้น
              เป็นประจ าทุกปี โดยมีประเพณีหลัก ๆ ได้แก่ (1) งานบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช







      48      วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77