Page 73 - 22373_Fulltext
P. 73

(2) ประเพณีวันสารทไทย  (3) ประเพณีบุญบั้งไฟ  (4) ประเพณีวันสงกรานต์  (5) ประเพณีวันลอยกระทง และ
                (6) ประเพณีวันเข้าพรรษา ออกพรรษา (เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี, 2562ก)

                          ส าหรับทางด้านภาษา ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษาไทยภาคกลาง ภาษาอีสาน ภาษาโคราช ภาษา

                ชัยภูมิ เนื่องจากประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองวิเชียรบุรีอพยพมาจากพื้นที่ใกล้เคียงจึงได้น าเอาภาษาและ
                วัฒนธรรมต่าง ๆ เข้ามาด้วย (เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี, 2562ก)

                          5) สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ  ในส่วนของการคมนาคม ไฟฟ้า และประปา  เทศบาลเมือง

                วิเชียรบุรีสามารถใช้เส้นทางหลักในการเข้าถึงได้ทั้งหมด 3 เส้นทาง ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21

                สระบุรี-หล่มสัก ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2012 และทางหลวงชนบทหมายเลข 2275 มีไฟฟ้าภายในเขต
                เทศบาลเมืองวิเชียรบุรีที่ได้รับการจ่ายไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อ าเภอวิเชียรบุรี ท าให้ชุมชนทั้งหมด
                มีไฟฟ้าเข้าถึง โดยมีครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า 8,182 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 96.29 ของจ านวนครัวเรือนทั้งหมด

                มีระบบประปาภายในเขตเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี ที่ให้บริการโดยส านักการประปาส่วนภูมิภาค สาขาวิเชียรบุรี
                โดยมีจ านวนครัวเรือนที่ใช้น้ าประปาประมาณ 4,301 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 50.61 ของจ านวนครัวเรือน

                ทั้งหมด โดยมีแหล่งน้ าดิบที่ใช้ในการผลิตน้ าประปา 2 แห่ง คือ แม่น้ าป่าสัก และสระพักน้ าดิบบ้านคอเลือก
                (เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี, 2562ก)


                        2.4.3 บริบทด้านการจัดการการศึกษา

                          1) ด้านหน่วยงานและบุคลากร  เทศบาลเมืองวิเชียรบุรีมีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษา

                โดยตรง ได้แก่ กองการศึกษาซึ่งมีบุคลากรจ านวน 27 คน (15.0%) โดยมีโครงสร้างการบริหารงาน คือ
                ผู้อ านวยการกองการศึกษา ฝ่ายบริหารการศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

                ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสระประดู่ (เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี, 2562ก;
                เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี, 2563)

                          2) ด้านนโยบาย  ในด้านการจัดการศึกษา จากแผนพัฒนาท้องถิ่น 5 ปี ของเทศบาลเมืองวิเชียร

                เจริญ แม้จะไม่พบว่าเทศบาลมีวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์โดยตรงด้านการศึกษา แต่เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี
                ได้ก าหนดการพัฒนาด้านการศึกษาไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริม ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี การกีฬา

                และคุณภาพชีวิต แผนงานที่ 2 เนื่องการการศึกษาเป็นพันธกิจหนึ่งของเทศบาล ที่ต้องการให้ประชาชนได้รับ
                การศึกษาอย่างทั่วถึง เป็นคนที่มีคุณภาพ มีความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยได้วางแผนสนับสนุน                การวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล ้าทางด้านการศึกษา

                โครงการต่าง ๆ จ านวนถึง 124 โครงการ คิดเป็นจ านวนเงิน 70.063 ล้านบาท แม้ในแผนด าเนินงานประจ าปี
                งบประมาณ พ.ศ. 2563 เทศบาลจะสามารถจัดสรรงบประมาณได้เพียง 6 โครงการ จ านวนงบประมาณ 1.121

                ล้านบาทก็ตาม (เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี, 2562ก; เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี, 2562ข)

                          3) สถานศึกษา ในเขตพื้นที่เทศบาลมีสถานศึกษารวม 13 แห่ง ใน 5 สังกัด (2562) (เทศบาลเมือง

                วิเชียรบุรี, 2562ก) ได้แก่

                             3.1) สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เทศบาลเมืองวิเชียรบุรีได้จัดให้มีบริการ
                ทางด้านการศึกษา (2562) โดยมีโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี เปิดสอนในระดับอนุบาล มีจ านวน






                                                               วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า   49
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78