Page 77 - 22373_Fulltext
P. 77

เมื่อพิจารณาจากบัญชีสรุปโครงการและงบประมาณในแผนการด าเนินงาน ประจ าปีงบประมาณ
                พ.ศ. 2564 ของเทศบาลเมืองบางกะดีพบว่า ในปีงบประมาณดังกล่าวมีโครงการจ านวนทั้งสิ้น 94 โครงการ

                งบประมาณรวม 56.273 ล้านบาท โดยยุทธศาสตร์ที่มีสัดส่วนของโครงการมากที่สุด ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 2
                ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต จ านวน 55 โครงการ (58.5%) รองลงมา คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านส่งเสริมการพัฒนา
                สาธารณูปโภค/สาธารณูปการ และยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านบริหารจัดการ 14 โครงการเท่ากัน (14.9%) และเมื่อ

                พิจารณาจากสัดส่วนงบประมาณพบว่า ยุทธศาสตร์ที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้าน

                ส่งเสริมคุณภาพชีวิต จ านวน 28.858 ล้านบาท (51.3%) รองลงมาคือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านส่งเสริมการพัฒนา
                สาธารณูปโภค/สาธารณูปการ จ านวน 20.375 ล้านบาท (36.2%) (เทศบาลเมืองบางกะดี, 2563ก)

                          ดังนั้นเทศบาลเมืองบางกะดีจึงได้ก าหนดให้การศึกษาจึงเป็นเป้าหมายหลักประการหนึ่งในวิสัยทัศน์

                โดยมีแผนงานด้านการศึกษาปรากฏอยู่ในยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีเป้าประสงค์เพื่อ
                พัฒนาคุณภาพชีวิตการจัดการดานสวัสดิการสังคม การศึกษา กีฬา นันทนาการและสาธารณสุขมีประสิทธิภาพ

                ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิต และทรัพยสิน และยังเป็นยุทธศาสตร์ที่มีงบประมาณสนับสนุนมากที่สุด
                สะท้อนให้เห็นการให้ความส าคัญด้านคุณภาพชีวิต (รวมถึงการศึกษา) ของเทศบาลบางกะดี

                          ในส่วนของฐานะการเงิน ในด้านรายรับ ในปีงบประมาณ 2563 เทศบาลบางกะดีมีรายรับจริง

                จ านวนถึง 119.033 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ได้จากภาษีจัดสรร 63.235 ล้านบาท รองลงมาคือเงินอุดหนุนทั่วไป
                47.032 ล้านบาท เนื่องจากเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมส าคัญของจังหวัดปทุมธานี ในส่วนของรายจ่ายจริงมีจ านวน

                96.594 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายในส่วนของงบบุคลากร จ านวน 43.207 ล้านบาท และรายจ่ายในส่วน
                ของงบด าเนินงาน 32.351 ล้านบาท (เทศบาลเมืองบางกะดี, 2563ค)


                       2.5.2 บริบทเชิงพื นที่

                          1) ลักษณะทางกายภาพ  พื้นที่ของเทศบาลต าบลบางกะดีมีลักษณะทางกายภาพเป็นที่ราบลุ่ม

                แม่น้ าเจ้าพระยามีคลองหลายสายตัดผ่าน เนื่องจากในอดีตบริเวณแห่งนี้เคยเป็นพื้นที่เกษตรกรรมทางด้าน
                ทิศเหนือของกรุงเทพมหานครมาก่อน (เทศบาลเมืองบางกะดี, 2563ค)

                          2) ประชากร  ในปี 2563 เทศบาลเมืองบางกะดีมีประชากรรวมทั้งสิ้น 14,270 คน ส่วนใหญ่เป็น

                เพศหญิงจ านวน 7,506 คน (52.6%) ชาย 6,754 คน (47.4%) ประชากรกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ของหมู่ 4 บ้าน
                ล าพูมากที่สุด โดยมีจ านวนถึง 4,293 คน (30.1%) ส่วนหมู่บ้านที่มีจ านวนประชากรน้อยที่สุด ได้แก่ หมู่ 1            การวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล ้าทางด้านการศึกษา

                บ้านเกรินมีจ านวนประชากรเพียง 1,547 คน (10.8%) ทั้งนี้เทศบาลเมืองบางกะดีมีจ านวนครัวเรือนทั้งหมด
                7,066 ครัวเรือน (เทศบาลเมืองบางกะดี, 2563ค) ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่างจ านวนประชากรกับจ านวน

                ครัวเรือน ครัวเรือนในเทศบาลเมืองบางกะดีจึงเป็นครัวเรือนขนาดเล็ก มีประชากรเฉลี่ยเพียง 1.1 คน/ครัวเรือน

                          ส าหรับโครงสร้างประชากรพบว่า ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่เทศบาลเมืองบางกะดี เป็นประชากร

                กลุ่มวัยเจริญพันธุ์ จ านวน 4,671 คน (64.7%) รองลงมาคือ วัยเด็ก และเยาวชน จ านวน 3,095 คน (22.7%)
                ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุมีจ านวนน้อยที่สุด โดยมีจ านวนเพียง 950 คน (12.6%) ดังนั้นวัยเด็ก และเยาวชนจึงมี
                จ านวนค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับจ านวนผู้สูงอายุ







                                                               วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า   53
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82