Page 78 - 22373_Fulltext
P. 78

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากการสังคมสงเคราะห์ และสวัสดิการสังคมพบว่า ในพื้นที่เทศบาลมี
              จ านวนผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยโรคเอดส์ที่อยู่ในโครงการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพจ านวน 146 ราย จ าแนกเป็น

              ผู้สูงอายุ 98 ราย ผู้พิการ 44 ราย และผู้ป่วยเอดส์ 4 ราย อย่างไรก็ตามในส่วนจ านวนผู้สูงอายุ ผู้พิการ และ
              ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่อยู่ในโครงการสร้างหลักประกันรายได้ตามนโยบายของรัฐบาลมีจ านวนถึง 1,680 ราย จ าแนก
              เป็นผู้สูงอายุ 1,469 ราย ผู้พิการ 206 ราย และผู้ป่วยเอดส์ 5 ราย (เทศบาลเมืองบางกะดี, 2563ค)


                        3) สังคมและเศรษฐกิจ เทศบาลเมืองบางกะดีนับเป็นสังคมเมือง เนื่องด้วยภายในพื้นที่มีนิคม
              อุตสาหกรรมบางกะดีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขตเทศบาล อีกทั้งยังมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ตั้งอยู่

              ริมน้ าเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกของเขตเทศบาล บ้านเรือนประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบางกะดีนั้นตั้งอยู่
              กระจัดกระจาย แต่โดยส่วนใหญ่จะตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ าและริมถนน ได้แก่ ริมแม่น้ าเจ้าพระยา ริมคลองบาง

              หลวงเชียงราก และริมทางหลวง ทั้งถนนติวานนท์ และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 345 โดยมีทั้งที่เป็นบ้านเรือน
              ที่อยู่มาตั้งแต่อดีต และบ้านจัดสรรที่สร้างขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ภายในเขตเทศบาลเมืองบางกะดียังมีชุมชน

              ชาวมอญที่พูดภาษามอญตั้งอยู่ด้วย  ในส่วนสภาพเศรษฐกิจนั้น ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ภายในเขตเทศบาลเมือง
              บางกะดี ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม โดยมีโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า 60 แห่ง นอกจากนี้ยังมีการ

              ประกอบอุตสาหกรรมในท้องถิ่น แต่ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ แต่เป็นผู้ประกอบการ
              จากภายนอกเข้ามาลงทุนในพื้นที่ (เทศบาลเมืองบางกะดี, 2563ค)

                        4) วัฒนธรรม  ส าหรับศาสนา ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบางกะดี สวนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
                  การวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล ้าทางด้านการศึกษา
              รองลงมาคือ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ ตามล าดับ เทศบาลเมืองบางกะดีมีศาสนสถานภายในเขต
              เทศบาล จ านวน 4 แห่ง เป็นวัดในศาสนาพุทธทั้งหมด ได้แก่ วัดเกริน วัดบางกุฎีทอง วัดสังลาน และวัด

              บางกะดี ในส่วนของประเพณี และวัฒนธรรม ประเพณีในชุมชนเทศบาลเมืองบางกะดีล้วนเป็นประเพณีตาม
              ศาสนาพุทธซึ่งปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งอดีต โดยมีประเพณีประจ าชุมชน ได้แก่ การแห่เทียนเข้าพรรษา ตักบาตร

              ทางน้ า ประเพณีตักบาตรน้ าผึ้ง ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีท าบุญวันสารท และประเพณีวันลอยกระทง
              (เทศบาลเมืองบางกะดี, 2563ค)


                        5) สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ประชาชนส่วนใหญ่ใช้การคมนาคมทางถนนเป็นหลัก โดย
              ถนนหลักที่ใช้คือ ทางหลวงหมายเลข 306 (ติวานนท์) และถนนบางกะดีที่เป็นถนนภายในชุมชน  นอกจากนี้
              ยังมีเส้นทางคมนาคมทางน้ า ได้แก่ แม่น้ าเจ้าพระยา ซึ่งใช้เป็นเส้นทางขนส่ง และเดินทางของผู้คน แต่ปัจจุบัน

              ไม่ได้รับความนิยมเหมือนในอดีต โดยการใหบริการด้านการไฟฟาของเทศบาลเมืองบางกะดีขึ้นอยู่กับการไฟฟ้า

              ส่วนภูมิภาคปทุมธานี 2 ส่วนการใหบริการด้านการประปาของเทศบาลเมืองบางกะดีขึ้นอยู่กับส านักงาน
              ประปาสวนภูมิภาค สาขารังสิต (เทศบาลเมืองบางกะดี, 2563ค)


                     2.5.3 บริบทด้านการจัดการศึกษา

                        1) ด้านหน่วยงานและบุคลากร  เทศบาลเมืองบางกะดีมีหน่วยงานที่ดูแลโดยตรงด้านการศึกษา
              ของเด็กและเยาวชน ซึ่งได้แก่ กองการศึกษา และได้มีการก าหนดหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน คือ มีหน้าที่ในการ

              ควบคุมดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตรวจสอบหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พิจารณาจัดตั้ง
              ยุบเลิกศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ดูแลจัดเตรียม และให้บริการวัสดุอุปกรณ์ คู่มือครู สื่อการเรียนการสอนแก่ศูนย์





      54      วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83