Page 95 - 22373_Fulltext
P. 95
ประจ าวันของชาวมุสลิมจะถือปฏิบัติตามหลักศาสนาโดยเคร่งครัด ส่วนพุทธศาสนิกชนก็ยังรักษาขนบธรรมเนียม
ประเพณีต่าง ๆ ของชาวพุทธไว้อย่างเหนียวแน่น ซึ่งมีประเพณีและวัฒนธรรมในการถือปฏิบัติ เช่น การแต่งกาย
ผู้ชายนิยมนุ่งโสร่งหรือกางเกงขายาว สวมเสื้อแขนยาวถึงข้อมือและสวมหมวกกาปีเยาะ ส่วนผู้หญิงก็จะสวมเสื้อ
แขนยาวถึงข้อมือและนุ่งผ้าคลุมถึงข้อเท้าตามข้อบัญญัติศาสนาอิสลาม ประเพณีพิธีถือศีลอดในเดือน
“รอมฎอน” ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามทุกคน จะถือศีลอดเป็นเวลา 1 เดือน นอกจากนี้ยังมีประเพณีตาม
พุทธศาสนา อย่างประเพณีลากพระหรือชักพระ ประเพณีวันลอยกระทง เป็นต้น (เทศบาลเมืองนราธิวาส, 2564)
5) สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การเดินทางมายังเทศบาลเมืองนราธิวาส สามารถเดินทาง
ได้สามรูปแบบ ได้แก่ ทางรถยนต์ รถไฟ และทางอากาศ โดยทางรถยนต์สามารถเดินทางด้วยทางหลวง
หมายเลข 42 จากจังหวัดปัตตานี โดยลักษณะถนนเป็นถนนสี่เลน นอกจากนี้ยังมีถนนเชื่อมกับอ าเภอต่าง ๆ ของ
จังหวัดนราธิวาสอีกด้วย ในส่วนของรถขนส่งมวลชนสาธารณะ มีบริการรถทัวร์จากบริษัทขนส่ง จ ากัด ให้บริการ
การเดินทางจากกรุงเทพ-สุไหงโกลก และรถทัวร์จากบริษัทศรีตรังทัวร์ ให้บริการเดินรถในเส้นทาง นราธิวาส -
ภูเก็ต นราธิวาส - นครศรีธรรมราช และรถตู้เชื่อมเมืองนราธิวาสกับอ าเภอต่าง ๆ รวมไปถึงหาดใหญ่ ในส่วน
ของทางรถไฟ สามารถขึ้นและลงรถไฟได้ที่สถานีรถไฟตันหยงมัสแล้วเดินทางต่อด้วยรถยนต์มาอีก 22 กิโลเมตร
จึงจะถึงเมืองนราธิวาส ทางอากาศ สามารถนั่งเครื่องบินมาลงที่ท่าอากาศยานนราธิวาส ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมือง
ไปทางด้านทิศเหนือประมาณ 13 กิโลเมตร โดยปัจจุบันมีสายการบิน 2 สายให้บริการการเดินทางด้วยเครื่องบิน
(เทศบาลเมืองนราธิวาส, 2564)
ส าหรับการให้บริการไฟฟ้า ปัจจุบันการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนราธิวาสมีก าลังการผลิต 233 MW
มีผู้ใช้ไฟในเขตเทศบาลจ านวน 32,655 ราย ประชาชนในเขตเทศบาลได้รับบริการไฟฟ้าอย่างทั่วถึง และเพียงพอ
ส าหรับการใช้บริการมีประชาชนในชุมชนเพียงเล็กน้อยที่ไม่ใช้บริการไฟฟ้า เนื่องจากฐานะยากจน มีปัญหาใน
เรื่องกรรมสิทธิ์ในการครอบครองที่อยู่อาศัย และบางส่วนไม่ประสงค์จะใช้ไฟฟ้า ในส่วนของการประปา ในเขต
อ าเภอเมืองนราธิวาส มีการประปาส่วนภูมิภาคสาขานราธิวาส มีแหล่งน้ าดิบจากคลองบ้านปูตะ มีก าลังการผลิต
950 ลบ.ม/ชม. มีผู้ใช้น้ าในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาสจ านวน 13,100 ราย และมีประชาชนบางส่วนในชุมชน
ต่าง ๆ ยังใช้น้ าบาดาล และน้ าบ่อที่ขุดขึ้นมาเอง เนื่องจาก ระบบประปายังเข้าไม่ถึง แต่ก็สามารถใช้ในการ
อุปโภค และบริโภคได้ดี ไม่มีปัญหาในเรื่องการขาดน้ า (เทศบาลเมืองนราธิวาส, 2564)
2.8.3 บริบทด้านการจัดการศึกษา
1) ด้านหน่วยงาน และบุคลากร เทศบาลเมืองนราธิวาสมีหน่วยงานที่ดูแลโดยตรงด้านการศึกษา การวิจัยขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นกลไกลดความเหลื่อมล ้าทางด้านการศึกษา
ของเด็ก และเยาวชน ซึ่งได้แก่ ส านักการศึกษา โดยหน้าที่รับผิดชอบ คือ การบริหารศึกษาและพัฒนา
การศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษา การศึกษานอกระบบการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น การ
จัดการศึกษาปฐมวัย อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา โดยให้มีงานธุรการ งานการเจ้าหน้าที่
งานบริหารวิชาการ งานโรงเรียน งานศึกษานิเทศก์ งานการศึกษาปฐมวัย งานขยายโอกาสทางการศึกษา งาน
ฝึกและส่งเสริมอาชีพ งานห้องสมุด พิพิธภัณฑ์แลเครือข่ายทางการศึกษา งานกิจการศาสนา ส่งเสริมประเพณี
ศิลปวัฒนธรรม งานกีฬาและนันทนาการ งานกิจกรรมเด็กและเยาวชน และการศึกษานอกโรงเรียน และงาน
อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้กองการศึกษามีหน่วยงานย่อยที่ดูแลด้านการศึกษา จ านวน 5
หน่วยงาน ได้แก่ ฝ่ายแผนงานและโครงการ ส่วนบริหารการศึกษา ส่วนส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และ
วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า 71