Page 154 - b29259_Fulltext
P. 154

กษัตริย์นั้น ถือว่าได้กลายมาเป็นรากฐานสำาคัญทางประวัติศาสตร์ใน

        การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และถือเป็นหลักการทั่วไปของ
        รัฐธรรมนูญอังกฤษซึ่งล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปกป้องคุ้มครอง
        สิทธิเสรีภาพของประชาชนทั้งสิ้น ดังจะสะท้อนได้จากพัฒนาการทาง

        ประวัติศาสตร์ของอังกฤษที่ได้ยืนยันในแนวทางนี้มาโดยตลอด นับตั้งแต่
        การบังคับใช้ Magna Carta ต่อมาคือ Petition of Rights และ Bill of

        Rights เป็นต้นมา 194





                2.2 ความหมายของสิทธิเสรีภาพ

               เมื่อพิจารณาความหมายอย่างเฉพาะเจาะจงในประเด็นสิทธิเสรีภาพ

        แล้ว พบว่า “สิทธิ” (Right) คือ “อำานาจที่กฎหมายรับรองให้แก่บุคคลในอันที่
        จะกระทำาเกี่ยวข้องกับทรัพย์หรือบุคคลอื่น” กล่าวคือ อำานาจที่กฎหมาย

        รับรองให้แก่บุคคลคนหนึ่งในการเรียกร้องให้ผู้อื่นกระทำาการบางอย่างให้
        เกิดประโยชน์แก่ตน เช่น สิทธิในการทวงหนี้ กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล เป็นต้น

               สำาหรับ “เสรีภาพ” (Liberty) หมายถึง “ภาวะของมนุษย์ที่

        ไม่อยู่ภายใต้การครอบงำาของผู้อื่น” “ภาวะที่ปราศจากการถูกหน่วงเหนี่ยว
        ขัดขวาง” กล่าวคือ บุคคลใดบุคคลหนึ่งย่อมมีเสรีภาพอยู่ตราบเท่าที่เขา

        ไม่ถูกบังคับให้กระทำาในสิ่งที่เขาไม่ประสงค์จะกระทำาหรือไม่ถูกหน่วงเหนี่ยว


        194   Danilo Zolo, “The rule of law: A critical Reappraisal,” The Rule of
        Law History, Theory and Criticism, Edited by Danilo Zolo, Pietro Costa
        (Springer, 2007), 8.




     154
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159