Page 150 - b29259_Fulltext
P. 150

จำานวนมาก ซึ่งมีการต่อสู้กันระหว่างแนวคิดการปกครองแบบสมบูรณา-

        ญาสิทธิราชย์และระบอบประชาธิปไตย โดยในยุคดังกล่าวนี้ แนวคิดเรื่อง
        พลเมืองได้ถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม แนวคิดเรื่องพลเมืองได้
        กลับมาโดดเด่น ทรงพลังและส่งอิทธิพลต่อระบบสังคมและระบบการเมือง

        โลกในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาและได้มีพลวัตเรื่อยมาจนถึง
        ปัจจุบัน


               ดังจะเห็นว่า แนวคิดเรื่องพลเมืองได้มีมาตั้งแต่สมัยการปกครอง
        ของนครรัฐเอเธนส์ไล่เรื่อยมา และปัจจัยด้านสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง

        ในแต่ละยุคสมัยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดซึ่งภายหลังการเกิดขึ้น
        ของรัฐใหม่ ๆ ในยุโรปนั้น สามารถสรุปวิวัฒนาการของประเทศตะวันตก
        ได้ออกเป็น 3 ช่วงเวลาด้วยคือ (1) ศตวรรษที่ 18 ช่วงเวลาของการมี

        “สิทธิพลเมือง” (Civic Rights) แก่พลเมือง อันประกอบด้วย สิทธิเสรีภาพ
        ส่วนบุคคล เสรีภาพในการพูด อิสระทางความคิด และสิทธิในกรรมสิทธิ์

        เป็นต้น ภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน (2) ศตวรรษที่ 19 ช่วงเวลาของ
        การมี “สิทธิทางการเมือง” (Political Rights) อันประกอบด้วย สิทธิใน
        การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง สิทธิในการรวมกลุ่มเป็นสมาคม เป็นต้น และ

        (3) ศตวรรษที่ 20 ช่วงเวลาของการมี “สิทธิทางสังคม” (Social Rights)
        อันประกอบด้วย มาตรการต่าง ๆ ในการช่วยเหลือเยียวยาทางสังคม เช่น

                                         191
        ได้รับเงินชดเชยจากการว่างงาน เป็นต้น  ดังนั้นจะเห็นว่าในละยุคสมัย
        ประเด็นเรื่องสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่นั้นได้มีพลวัตควบคู่กับเรื่องสถานะ
        ของพลเมืองมาโดยตลอด



        191   ดู Marshall T.H. “Citizenship and Social Class and other essays”
        (Cambridge University Press, 1950), pp. 10-27.


     150
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155