Page 153 - b29259_Fulltext
P. 153
2. “สิทธิเสรีภาพของประชาชน”
2.1 ความน�า
ประเด็นเรื่อง “สิทธิเสรีภาพของประชาชน” ถือเป็น “หัวใจสำาคัญ”
ของสังคมประชาธิปไตยอันเนื่องด้วยปัจจัยด้านสิทธิเสรีภาพเปรียบเสมือน
“มาตรวัด” ประการหนึ่งที่บ่งบอกถึงระดับความเข้มข้นของระบอบ
ประชาธิปไตยของสังคมนั้น ๆ ทั้งนี้ เมื่อสืบย้อนรากฐากที่มาของสิทธิ
เสรีภาพในปัจจุบันนั้นพบว่าได้พัฒนามาจากการต่อสู้ของชนชั้นกลางใน
ยุคกลางของยุโรป โดยชนชั้นกลางได้เรียกร้องต่อกษัตริย์และบรรดาขุนนาง
ให้การรับรองสิทธิเสรีภาพบางประการแก่พวกตน ซึ่งปรากฎการณ์ดังกล่าวนี้
ได้เกิดขึ้นในหลายประเทศของยุโรป แต่ข้อเรียกร้องที่เด่นชัดที่สุดคือ
กรณีการต่อสู้ของชนชั้นกลางในอังกฤษที่แสดงความไม่พอใจต่อระบอบ
การปกครองของพระเจ้าจอห์น (King John) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขูดรีด
และจัดเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรม การต่อสู้ดังกล่าวได้สะท้อนออกมาในกฎบัตร
อันเลื่องชื่อคือ “มหากฎบัตรแมกนาคาร์ตา” (The Magna Carta /
The Great Charter) ในประเด็นข้อเรียกร้องข้างต้นจะเห็นได้จากกฎบัตร
ข้อที่ 12 ที่กำาหนดให้การจัดเก็บภาษีใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมจากสภา
เสียก่อน นอกจากนี้ สาระสำาคัญอีกประการหนึ่งคือตามกฎบัตรข้อที่ 39
ที่กำาหนดให้การจับกุม คุมขัง ขับไล่ เนรเทศ ฯลฯ จะต้องดำาเนินการพิจารณา
193
คดีตามกฎหมายโดยผู้พิพากษาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม จากการบัญญัติ
มหากฎบัตรแมกนาคาร์ตาขึ้นบังคับใช้ในอังกฤษเพื่อจำากัดอำานาจของ
193 โปรดดู มาตรา 12 และ 39 แห่งกฎบัตรแมกนาคาร์ตา เข้าถึงจาก <http://
www.constitution.org/eng/magnacar.pdf>.
153
หลักสูตรเตรียมความพร้อมส�าหรับการเมืองระดับชาติ 153