Page 73 - b29259_Fulltext
P. 73
ที่สร้างหลักประกันสิทธิและผลประโยชน์ของคนเสียงข้างน้อยที่สามารถ
ตรวจสอบเสียงส่วนใหญ่ของสังคมได้ บ้างก็อธิบายถึงระบอบการเมืองที่
แสวงหาผู้ดำารงตำาแหน่งอำานาจการเมืองโดยผ่านการลงคะแนนเสียงข้างมาก
ที่ได้รับความนิยมสูงสุด หรือกระทั่งหมายความในทางลบว่า เป็นระบอบ
การเมืองที่รัฐบาลต้องรับใช้ผลประโยชน์ของประชาชน ไม่ว่าพวกเขาจะมี
ส่วนร่วมทางการเมืองหรือไม่ก็ตาม
จะเห็นได้ว่า การนิยามความหมายของประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน
ไปนั้นยังคงวางบนหลักการสำาคัญก็คือ การให้ความสำาคัญกับประชาชนและ
ผลประโยชน์ของประชาชน และในการแสวงหาความนิยมทางการเมือง
ตลอดจนการตัดสินใจทางการเมืองนั้นก็ยังอิงกับประชาชนเสียงข้างมาก
(Majority Rule) เนื่องจากการเมืองแบบประชาธิปไตยอธิบายหลัก
ความชอบธรรม (legitimacy) โดยยืนยันและรับรองว่าอำานาจอธิปไตยอัน
เป็นอำานาจสูงสุดของรัฐเป็นของประชาชน ซึ่งตามหลักการประชาธิปไตยนั้น
สามารถเชื่อมโยงความชอบธรรมในการปกครองตามหลักประชาธิปไตยได้
3 ประการ ได้แก่
ประการแรก การปกครองโดยความยินยอม (consent) จาก
ประชาชน เริ่มจากแนวคิดในการอธิบายความจำาเป็นในการปกครองและ
ความจำาเป็นในการเข้าสู่อำานาจการเมืองโดยความยินยอมจากประชาชน
ซึ่งยังหมายรวมถึงความสามารถของประชาชนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมทาง
การเมือง (Political Participation) ตั้งแต่การเลือกตั้ง (voting) การเข้าไป
มีบทบาทหรือเข้าร่วมกับพรรคการเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์ การเข้าร่วม
การชุมนุมทางการเมืองและร่วมประท้วงตามหลักการสากล
หลักสูตรเตรียมความพร้อมส�าหรับการเมืองระดับชาติ 73 73