Page 16 - kpiebook62011
P. 16

12






                     ประการที่สาม วิธีการโต้แย้งว่าด้วยเรื่องราคาที่ราษฎรจะมีต่อหน่วยงานของรัฐนั้น ใช้ระบบการจัดตั้ง

               คณะกรรมการปรองดองหรือคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ ซึ่งใช้ระยะเวลาค่อนข้างยาวนาน และเมื่อ
               ผลปรากฏออกมาอย่างไรแล้วราษฎรก็จะไม่ได้รับดอกเบี้ยตอบแทนจากการล่าช้านั้นเลย


                     ด้วยเหตุนี้ในปี 2528 จึงได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ขึ้นใหม่
               ก่อนจะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เพื่อเป็นกฎหมายกลาง

               ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน และในกรณีที่ไม่มีกฎหมายเฉพาะให้อำนาจใน
               การเวนคืนแก่หน่วยงานของรัฐหน่วยงานใด  หน่วยงานนั้นๆ สามารถนำกฎหมายดังกล่าวไปใช้เป็นหลักใน
               การดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้


                     สำหรับสาระสำคัญของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 นั้น คณะผู้วิจัย
               จะกล่าวถึงโดยละเอียดในหัวข้อที่ 3 ต่อไป


               2.3 กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เฉพาะ


                     เมื่อรัฐมีความจำเป็นที่จะต้องเวนคืนที่ดินมาเพื่อใช้ประโยชน์สาธารณะ และได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ

               ที่ดินที่จะต้องเวนคืนเป็นการแน่นอนแล้ว จะมีการตราพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ที่จะต้อง
               เวนคืนที่ดินนั้นอีกฉบับหนึ่ง พระราชบัญญัติลักษณะนี้จะบัญญัติไว้เพียง 4- 5 มาตราเท่าที่จะพอให้รู้ว่าที่ดิน
               ที่เวนคืนแปลงใดจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์หลักของพระราชบัญญัติตังกล่าวมีเพียง

               เพื่อโอนกรรมสิทธ์ในทรัพย์สินของประชาชนมาเป็นของรัฐ พระราชบัญญัติในลักษณะนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า
               “พระราชบัญญัติเวนคืนเฉพาะ” ตัวอย่างของกฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เฉพาะ เช่น


                    (1) พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้ามหานคร
                        สายเฉลิมรัชมงคล ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตจตุจักร เขตห้วยขวาง เขตดินแดง เขตราชเทวี เขตวัฒนา

                        เขตคลองเตย เขตปทุมวัน และเขตสาทร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552

                    (2) พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - วงแหวนรอบนอก
                        กรุงเทพมหานคร ในท้องที่เขตบางเขน เขตสายไหม และเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร

                        พ.ศ. 2553

                    (3) พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลห้วยโป่ง และตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง

                        ระยอง จังหวัดระยอง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555

                    (4) พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางพิเศษสายเชื่อมระหว่างถนนวงแหวน

                        อุตสาหกรรมกับทางพิเศษสายบางพลี - สุขสวัสดิ์ ในท้องที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
                        พ.ศ. 2557

                    (5) พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

                        ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ ในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2558






                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21