Page 11 - kpiebook62011
P. 11

“การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะ

               เพื่อการสาธารณูปโภค หรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศโดยตรง หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ
               และต้องชดใช้ค่าทำขวัญอันเป็นธรรมแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิตามที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเวนคืน

               อสังหาริมทรัพย์บรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้นด้วย”

                     ทั้งนี้ กฎหมายว่าด้วยการเวนคืนที่อสังหาริมทรัพย์ที่ใช้อยู่ในขณะนั้นคือพระราชบัญญัติว่าด้วย

               การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 นอกจากนี้ยังมีกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อื่นอีกหลาย
               ฉบับ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะของแต่ละหน่วยงาน เช่น การเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางหลวง จะใช้วิธีการตาม
               บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2452


                     ต่อมา เมื่อเกิดการรัฐประหารในปี 2494 จึงได้มีการนำรัฐธรรมนูญฉบับปี พุทธศักราช 2475 มาแก้ไข
               เพิ่มเติม ทั้งนี้ บทบัญญัติในประเด็นการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ปรากฏอยู่ในมาตรา 29 แห่งรัฐธรรมนูญแห่ง
               ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ดังนี้


                     “รัฐย่อมเคารพต่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชน การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชนมาเป็น
               ของรัฐจะกระทำมิได้ เว้นแต่จำเป็นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค หรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ

               โดยตรงหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือประโยชน์ของรัฐอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนอันเป็น
               ธรรมให้แก่เจ้าของ หรือผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายในการโอนกรรมสิทธิ์นั้น”


                     ข้อสังเกตสำคัญเกี่ยวกับมาตรา 29 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีด้วยกัน 2 ประเด็น

                     ประเด็นแรก มาตรา 29 นี้มีเนื้อหาเช่นเดียวกันกับมาตรา 34 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
               พุทธศักราช 2492 แต่ใช้คำว่า “การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชนมาเป็นของรัฐ” แทนคำว่า

               “เวนคืนอสังหาริมทรัพย์” เพราะต้องการเน้นให้เห็นว่าการโอนทรัพย์สินของเอกชนจะต้องโอนเป็นของรัฐ
               เท่านั้น จะโอนเป็นของเอกชนหรือคนอื่นไม่ได้


                     ประเด็นที่สอง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งนี้ได้เพิ่มเหตุแห่งการเวนคืนอีกประการหนึ่ง คือ
               “เพื่อประโยชน์ของรัฐอย่างอื่น” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายกว้าง และครอบคลุมกิจการทุกอย่างที่รัฐดำเนินการ


                     อย่างไรก็ตาม การใช้คำว่า “การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชนมาเป็นของรัฐ” ถูกเปลี่ยนกลับ
               ไปเป็นคำว่า “การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์” ดังเดิมภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช

               2511 ทั้งนี้ ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มาจนกระทั่งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด บทบัญญัติที่รับรองการใช้
               อำนาจรัฐในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเปลี่ยนไปเฉพาะเหตุแห่งการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น
               (โปรดดูตารางที่ 1)


















                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16