Page 15 - kpiebook62011
P. 15

11






                     กล่าวโดยสรุปแล้ว หลักการทั้งสามที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของเอกชน

               การรับรองการใช้อำนาจรัฐในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และการกำหนดให้รัฐชดใช้ค่าทดแทนนั้น ปรากฏอยู่
               ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาโดยตลอดนับตั้งแต่ฉบับปี 2492 แม้ว่าจะมีรายละเอียดที่แตกต่าง

               กันไปบ้าง


               2.2 กฎหมายกลางว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์


                     กฎหมายกลางว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน

               อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายหลักของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป เกี่ยวกับกิจการใดๆ อันจำเป็น
               ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ  เมื่อไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้บังคับเกี่ยวกับกิจการ
               ใดๆ บัญญัติให้อำนาจเวนคืนไว้โดยเฉพาะ หรือแม้แต่ในกรณีที่การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการต่างๆ จะมี

               บทกฎหมายกำหนดให้อำนาจไว้เป็นกรณีเฉพาะก็ตาม แต่ถ้าในเรื่องใดที่กฎหมายเฉพาะนั้นไม่ได้บัญญัติไว้
               เป็นการเฉพาะแล้ว ก็สามารถนำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไปใช้ได้โดย

               อนุโลม

                     ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2506 ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ตอนหนึ่งว่า


                     “พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เป็นกฎหมายกลางว่าด้วยการเวนคืน
               อสังหาริมทรัพย์ทั่วไปของรัฐ ฉะนั้น จึงนำวิธีปฏิบัติในการเวนคืน ตลอดจนบทลงโทษในกรณีขัดขวางมิให้

               เจ้าหน้าที่เข้าครอบครองทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้มาใช้บังคับแก่การเวนคืนตามพระราชบัญญัติ
               เวนคืนอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ซึ่งมิได้บัญญัติวิธีปฏิบัติและบทลงโทษไว้โดยเฉพาะได้”

                     พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับแรกของประเทศไทย คือ พระราชบัญญัติว่าด้วย

               การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 ต่อมาคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497
               ซึ่งถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ทั้งนี้ เนื่องจากมีกฎหมาย
               หลายฉบับที่บัญญัติเรื่องการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้เป็นการเฉพาะ ทำให้อาจมีขั้นตอนการดำเนินการ

               ที่แตกต่างกันจนทำให้เกิดความสับสนแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  นอกจากนี้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน
               อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ที่ประกาศใช้มานาน ยังมีบทบัญญัติบางประการที่ยังไม่เหมาะสม ดังนี้


                     ประการแรก ปัญหาวิธีการกำหนดราคาค่าที่ดิน ซึ่งทำให้ผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับความเป็นธรรม กล่าวคือ
               ใช้ราคาที่ล้าสมัย ทำให้ราษฎรได้รับราคาค่าที่ดินหรือค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนไม่คุ้มกับค่าที่จะต้องรื้อถอน

               ไป

                     ประการที่สอง วิธีการจ่ายเงินชดเชยค่าที่ดิน และค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนจะใช้ระยะเวลาค่อนข้าง
               ล่าช้า ในหลายกรณีใช้เวลาถึงสิบปี ซึ่งค่าของเงินเมื่อถึงเวลาจ่ายเงินนั้นเทียบไม่ได้กับค่าของทรัพย์สินที่ถูก

               เวนคืนในขณะที่ถูกเวนคืนไป และ










                                       พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20