Page 14 - kpiebook62011
P. 14
10
“...และต้องชดใช้ค่าทดแทนอันเป็นธรรมให้แก่เจ้าของ หรือผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหาย
ในการโอนกรรมสิทธิ์นั้น”
คำว่า “ค่าทดแทน” ถูกเปลี่ยนแปลงกลับไปเป็นคำว่า “ค่าทำขวัญ” อีกครั้ง ตามมาตรา 32
แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ดังนี้ (เน้นคำโดยคณะผู้วิจัย)
“...และต้องชดใช้ค่าทำขวัญอันเป็นธรรมแก่เจ้าของ ตลอดจนผู้ทรงสิทธิตามที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วย
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์บรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้นด้วย”
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 แก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดในการกำหนด
“ค่าทำขวัญ” ดังนี้ (เน้นคำโดยคณะผู้วิจัย)
“...และต้องชดใช้ค่าทำขวัญภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของ ตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสีย
หายในการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ ตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย
การกำหนดค่าทำขวัญตามวรรคสามให้คำนึงถึงการได้มา สภาพ และที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์
ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม”
คำว่า “ค่าทำขวัญ” ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นคำว่า “ค่าทดแทน” อีกครั้งตามมาตรา 33 แห่งรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 พร้อมกับการกำหนดให้รัฐต้องคืนอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ ให้เจ้าของ
เดิมหรือทายาท ถ้ามิได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลาที่กำหนดในกฎหมาย ดังนี้ (เน้นคำโดยคณะผู้วิจัย)
“...และต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของ ตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความ
เสียหายในการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย
การกำหนดค่าทดแทนตามวรรคสามให้คำนึงถึงการได้มา สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับ
เหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม
อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยการเวนคืนเพื่อการใด ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในกฎหมาย ต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาท เว้นแต่ จะนำไปใช้เพื่อการอื่นตามวรรคสาม และโดยอาศัย
อำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
การคืนอสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าของเดิมหรือทายาทตามวรรคห้า และการเรียกค่าทดแทนที่ชดใช้ไปให้
เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย”
ทั้งนี้ ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มาจนกระทั่งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด บทบัญญัติที่กำหนดให้รัฐ
ชดใช้ค่าทดแทนดังกล่าวเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530