Page 319 - kpiebook65010
P. 319
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
หัวข้อผลกระทบ ผลกระทบที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้น
๏ อนึ่ง คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตัดหลักเกณฑ์การประกันภัยของโรงงานออกจากร่าง
กฎหมายนี้ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมไม่เห็นพ้องด้วยจึงเห็นควรกำหนดให้มีการประกันภัย
ลงในร่างกฎหมายนี้ด้วย เนื่องจากการกำหนดให้มีการประกันการประกอบกิจการโรงงาน
จะทำให้การแก้ไขเยียวยาผลอันเนื่องมาจากโรงงานก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ เป็นไปโดย
รวดเร็วและไม่ทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง กรณีนี้ย่อมเป็นผลดีกับบุคคลหรือทรัพย์สิน
ที่อยู่โดยรอบโรงงาน
เชิงลบ
๏ การกำหนดให้ความเป็นโรงงานตามกฎหมายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้โรงงานขนาดเล็ก
ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโรงงาน
เหล่านี้จะไม่ถูกควบคุมกำกับดูแลภายใต้หลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
แต่อย่างไรก็ตามโรงงานดังกล่าวนี้อาจถูกควบคุมจากกฎหมายอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน
ที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีนี้ แม้จะเกิดผลกระทบต่อ
บุคคลหรือทรัพย์สินก็เป็นผลกระทบที่อยู่ในระดับที่ควบคุมได้
8.3 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ๏ โรงงานมีความรับผิดชอบในเรื่องสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยรวมทั้งเหตุเดือดร้อนรำคาญ
หรือสุขภาวะ มากขึ้น
๏ ยังคงหลักการการคุ้มครองความเป็นอยู่ของประชาชนให้อยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี
ไม่ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญเช่นเดิม ทั้งนี้ เนื่องจากการรับรองของผู้ประกอบกิจการโรงงาน
ในการที่จะปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด การพัฒนาในลักษณะดังกล่าวจึงทำให้นำมา
ซึ่งความยั่งยืน
8.4 ผลกระทบอื่นที่สำคัญ ๏ จะทำให้เกิดความชัดเจนสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติและผู้ประกอบกิจการโรงงาน เนื่องจาก
เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องหรือปัญหาที่มีอยู่ตามกฎหมายฉบับเดิม
๏ มีการปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการขยายโรงงานและการอื่น ๆ ทำให้เกิด
ความรวดเร็ว โปร่งใส ส่งเสริมให้เกิดการประกอบอุตสาหกรรมมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริม
ให้เกิดความต่อเนื่องของอุตสาหกรรมเดิม
จากเนื้อหาที่ปรากฏในส่วนของการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดจาก
กฎหมายข้างต้น มีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวคิดและวิธีการที่หน่วยงานได้ใช้ และที่ควรจะถูกนำมาใช้
เพื่อทำให้เนื้อหาของรายงานการวิเคราะห์มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยแบ่งข้อพิจารณาเป็น
สองส่วนประกอบด้วยความครบถ้วนของมิติของผลกระทบที่จะต้องทำการประเมิน และ
ความน่าเชื่อถือของผลกระทบที่มีการวิเคราะห์
ในส่วนของความครบถ้วนของมิติผลกระทบที่ทำการประเมินนั้น แม้ว่า
การวิเคราะห์ผลกระทบของร่างจะไม่ได้ทำตามแบบแนบท้ายที่ 1 ของ RIA Handbook แต่จาก
การจัดวางข้อมูลที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบใน Checklist ลงในแบบแนบท้ายที่ 1 ที่ปรากฏ
ในตารางสรุปข้างต้นแล้วจะพบว่าการวิเคราะห์ค่อนข้างจะครอบคลุมเงื่อนไขที่จะต้องวิเคราะห์
ในหัวข้อที่ 6-8 ของแบบแนบท้าย โดยขาดเพียงรายละเอียดเพียงในส่วนของการนำเสนอมาตรการ
ป้องกัน แก้ไข คุ้มครอง หรือเยียวยาให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบซึ่งควรมีการอธิบายในหัวข้อย่อยที่ 6.2
สถาบันพระปกเกล้า
307