Page 266 - kpiebook65020
P. 266

224
                                                                                       รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

                                       โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                                                       ภาคผนวก ข

                               แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
                                                                                             *

                      อาศัยอ านาจตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่าง
               กฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๖๒ คณะกรรมการพัฒนากฎหมายโดยความเห็นชอบ

               ของคณะรัฐมนตรีก าหนดแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายไว้ดังต่อไปนี้
                      ข้อ ๑ ก่อนการเสนอให้มีการตรากฎหมาย ให้หน่วยงานของรัฐตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย
               โดยวิเคราะห์สภาพปัญหาและเหตุผลที่รัฐควรเข้าไปแทรกแซงในเรื่องนั้นและพิจารณาทางเลือกต่าง ๆ ที่เป็นไปได้
               ทั้งทางเลือกที่เป็นกฎหมายและไม่เป็นกฎหมาย ทั้งนี้ จะขอค าปรึกษาการด าเนินการดังกล่าวต่อคณะกรรมการ
               พัฒนากฎหมายก็ได้

                      เมื่อวิเคราะห์แล้วเห็นว่ามีความจ าเป็นต้องตรากฎหมาย ให้หน่วยงานของรัฐวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจ
               เกิดขึ้นจากกฎหมาย และจัดท าเป็นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแบบแนบท้าย
                      ข้อ ๒ การจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย หน่วยงานของรัฐต้อง

                      (๑) ใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย โดยอธิบายหรือน าเสนอข้อมูลอย่างกระชับ ครบถ้วน และตรงประเด็น
                      (๒) ระบุข้อมูลและข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบได้ที่น ามาประกอบการวิเคราะห์ไว้ใน
               รายงานด้วย
                      ข้อ ๓ ในการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย หน่วยงานของรัฐต้องพิจารณาเรื่องดังต่อไปนี้

                      (๑) ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อประเทศ สังคม หรือประชาชน
                      (๒) ความพร้อมและต้นทุนของรัฐในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย
                      (๓) ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมหรือสุขภาวะ หรือผลกระทบอื่นโดยรวมที่
               ส าคัญ

                      ข้อ ๔ การวิเคราะห์ความพร้อมและต้นทุนของรัฐตามข้อ ๓ (๒) ให้หน่วยงานของรัฐวิเคราะห์ต้นทุนหรือ
               ค่าใช้จ่ายที่คาดว่าต้องใช้ในการปฏิบัติตามและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายในระยะสามปีแรก โดยให้แนบ
               รายละเอียดการค านวณต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาด้วย
                      ข้อ ๕ ให้หน่วยงานของรัฐเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายไปยังส านัก

               เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
                      ข้อ ๖ ให้ส านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตรวจสอบความครบถ้วนของการด าเนินการตามข้อ  ๑ถึงข้อ ๔
               โดยหากเห็นว่ามีความจ าเป็นต้องด าเนินการในส่วนใดเพิ่มเติม ให้แจ้งหน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องด าเนินการให้

               ครบถ้วน โดยให้ระบุเรื่องหรือประเด็นที่จะต้องด าเนินการให้ชัดเจน
                      ข้อ ๗ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติส่งร่างกฎหมายให้ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาให้
               ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายและตรวจสอบการวิเคราะห์





               *
                ประกาศราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่  ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ เล่มที่ ๑๓๖ ตอนที่ ๑๓๒ ก  หน้า ๗ เรื่อง แนวทางการวิเคราะห์
               ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
   261   262   263   264   265   266   267   268   269   270   271