Page 158 - kpiebook65064
P. 158
108 โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
เภสัชกรปฏิบัติงาน บทบาทและหน้าที่
เภสัชกรวิชาการ * มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนและการฝึกอบรมเภสัชกรและ
(Academic Pharmacist) นักวิทยาศาสตร์ รวมถึงมีส่วนร่วมในการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตและ
สูตรของยา เพื่อเพิ่มผลการรักษาและการดูแลสุขภาพผู้ป่วย นอกจากนี้
ยังทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการบริการกับมหาวิทยาลัยหรือองค์กร
ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพการบริการสาธารณะและการดูแล
ผู้ป่วย
* ทั้งนี้ ผู้ปฏิบัติงานเภสัชกรรมที่ทำงานในร้านขายยาในชุมชน
โรงพยาบาล หน่วยงานกำกับดูแลหรืออุตสาหกรรมยาอาจจะเกี่ยวข้อง
กับการทำงานของในส่วนของนักวิชาการในรูปของpart-time ด้วย
ที่มา: สรุปและเรียบเรียงจาก http://www.healthprofessionals.gov.sg/
อย่างไรก็ดี ผู้กำกับดูแลเภสัชกรของประเทศสิงคโปร์ให้ทำงานตามบทบาทและ
หน้าที่ คือ สภาเภสัชกรรมแห่งสิงคโปร์ (Singapore Pharmacy Council - SPC) เป็น
คณะกรรมการตามกฎหมายภายใต้กระทรวงสาธารณสุขที่ตั้งขึ้นเมื่อ 1 กันยายน ค.ศ. 2008 ตาม
รัฐบัญญัติทะเบียนเภสัชกรรม ค.ศ. 2007 เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมาย
ขึ้นทะเบียนเภสัชกรรม และยังทำหน้าที่ควบคุมและดูแลการปฏิบัติวิชาชีพและจรรยาบรรณของ
เภสัชกรที่ขึ้นทะเบียนด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าเภสัชกรมีความรู้ความสามารถในระดับมืออาชีพ
ประเทศสิงคโปร์เริ่มมีประมวลจริยธรรมสำหรับเภสัชกรครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1980
ที่ออกโดยสมาคมเภสัชกรรมแห่งสิงคโปร์ (The Pharmaceutical Society of Singapore - PSS)
ต่อมาใน ค.ศ. 1981 คณะกรรมการเภสัชกรรมแห่งสิงคโปร์ (Singapore Pharmacy Board -
SPB) ได้นำประมวลจริยธรรมของ PSS เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติตามหลักวิชาชีพและจรรยา
บรรณ โดยเภสัชกรต้องปฏิบัติตามกฎของสภาเภสัชกรรมแห่งสิงคโปร์และหลักวิชาชีพ นอกจากนี้
วิชาชีพเภสัชกรรมต้องมีการกำกับกันเองภายใต้ประมวลทางจริยธรรมและวิชาชีพเพื่อปกป้อง
สาธารณะ รักษาไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือของสภา และส่งเสริมความเป็นมืออาชีพ 19
ประมวลจริยธรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางแก่เภสัชกร โดยได้ให้คำแนะนำ
เกี่ยวกับมาตรฐานของการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะมืออาชีพ โดยเภสัชกรทุกคน
อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาเภสัชกรรมสิงคโปร์ตามที่ระบุในรัฐบัญญัติการขึ้นทะเบียนเภสัชกร
ค.ศ. 2007 (Pharmacists Registration Act 2007) โดยสภาเภสัชกรรมมีอำนาจลงโทษเภสัชกรที่
ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานของประมวลจริยธรรม หรือสามารถลงโทษเภสัชกรที่ฝ่าฝืนส่วนใดส่วนหนึ่ง
ของรัฐบัญญัติการขึ้นทะเบียนเภสัชกร กฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎเกณฑ์ใด ๆ ที่กำกับดูแล
ร้านขายยา 20
19 Singapore Pharmacy Council, Code of Ethics. (Singapore: Singapore Pharmacy Council, 2009) p. 2.
20 Ibrd, p.4.
บทที่ 4
สถาบันพระปกเกล้า