Page 194 - kpiebook65064
P. 194
144 โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
ตารางที่ 5.6 ประเภทของบัญชียา
บัญชี ความหมาย
บัญชี ก. รายการยาที่มีความจำเป็นสำหรับสถานพยาบาลทุกระดับ
บัญชี ข. รายการยาที่อาจจำเป็นต้องใช้ในสถานพยาบาลบางระดับ หรือจำกัดข้อบ่งใช้สำหรับอาการ
หรือโรคบางชนิดที่ใช้ยาในบัญชี ก. ไม่ได้ หรือไม่ได้ผล หรือเป็นยาที่ใช้แทนยาในบัญชี ก.
ชั่วคราวในกรณีที่จัดหายาในบัญชี ก. ไม่ได้
บัญชี ค. รายการยาที่ต้องใช้โดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการของสถานพยาบาลนั้น ๆ
เนื่องจากเป็นยาที่มีอันตราย ถ้าใช้ไม่ถูกต้องอาจจะเกิดพิษ หรือเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย หรือ
เป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ง่าย
บัญชี ง. รายการยาที่อาจมีความจำเป็นต้องใช้สำหรับช่วยชีวิตผู้ป่วยบางราย แต่อาจทำให้เกิดอันตราย
ต่อผู้ป่วย หรือก่อปัญหาเชื้อดื้อยาที่ร้ายแรง และ/หรือมีราคาแพงมาก การสั่งใช้ยาซึ่งต้องให้
สมเหตุผลเกิดความคุ้มค่าสมประโยชน์จะต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัยและพิจารณาโดย
ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการฝึกอบรม ฉะนั้น ยาในบัญชีดังกล่าวจะสั่งใช้ได้โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
โรคที่ได้รับการฝึกอบรมในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากสถานฝึกอบรม หรือได้รับวุฒิบัตรหรือ
หนังสืออนุมัติจากแพทยสภา หรือทันตแพทยสภาเท่านั้น และโรงพยาบาลจะต้องมีระบบการ
กำกับประเมินและตรวจสอบการใช้ยา (ระบบ Drug Utilization Evaluation – DUE) โดยมี
การเก็บข้อมูลการใช้เพื่อตรวจสอบในภายหลังได้
บัญชี จ. แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
บัญชี จ (1) เป็นรายการยาสำหรับโครงการพิเศษของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงาน
ของรัฐที่มีการกำหนดวิธีการใช้และการติดตามประเมินการใช้ยาตามโครงการ โดยมี
หน่วยงานนั้นรับผิดชอบ และมีการรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะอนุกรรมการฯ เป็นระยะ
ตามความเหมาะสม เพื่อพิจารณาจัดเข้าประเภทของยา (ก ข ค ง) ในบัญชียาหลักต่อไปเมื่อ
มีข้อมูลเพียงพอ
บัญชี จ (2) เป็นรายการยาสำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเฉพาะ ให้เข้าถึงยาได้อย่างสมเหตุผล
และคุ้มค่า ซึ่งมีการจัดกลไกกลางเป็นพิเศษในกำกับการใช้ยาภายใต้ความรับผิดชอบร่วมกัน
ของระบบประกันสุขภาพซึ่งดูแลโดย กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง สำนักงานประกัน
สังคม กระทรวงแรงงาน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง
ที่มา: สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. (2556). บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2556.
น. ต-ถ.
5.3.4 กระบวนการพิจารณายาในบัญชียาหลักแห่งชาติ
โดยกระบวนการพิจารณาคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติสามารถสรุปได้ตาม
แผนภาพที่ 5.7 โดยกลไกการนำยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติในขั้นตอนที่ 3 และ 4 เป็นบทบาท
โดยตรงของคณะทำงานที่แบ่งออกเป็นคณะทำงานหลายคณะ โดยคณะทำงานสำคัญที่มีบทบาท
อย่างสูงในการพิจารณายาเข้าสู่บัญชียาหลัก คือ คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติ ซึ่งเป็น
คณะทำงานเฉพาะทางที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญประสบการณ์ด้านเภสัชศาสตร์ ระบาดวิทยาคลินิก
หรือเภสัชวิทยาคลินิก หรือ evidence-based medicine ฯลฯ บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกเป็น
คณะทำงานด้านการคัดเลือกยามาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากสถานพยาบาลและสถานศึกษา
บทที่ 5
สถาบันพระปกเกล้า