Page 193 - kpiebook65064
P. 193
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 143
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
6. ในการพิจารณาคัดเลือกรายการยานั้น รายการยาที่คัดเลือกไว้ในบัญชียาหลักฯ
หมายรวมถึง ยาทุกความแรง (strength) โดยให้คณะทำงานฯ พิจารณา
คัดเลือกรายการยาพร้อมทั้งรูปแบบของยาตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการใช้ข้อพิจารณาด้านประสิทธิผล ความคงตัวของยา patient
compliance และการบริหารยาในผู้ป่วย ทั้งนี้ ให้ใช้วิธีการประเมินผลที่สามารถ
แสดงเหตุผลได้ชัดเจน หากผลการพิจารณาแต่ละรายการให้ผลที่ใกล้เคียงกันมาก
ก็ให้นำวิธีประเมินที่สามารถนับวัดได้ (quantifiable assessment) ประกอบการ
พิจารณา
7. ยาแต่ละรายการให้ใช้ชื่อสามัญทางยา พร้อมทั้งระบุรูปแบบ หากเป็นยาที่มีหลาย
ข้อบ่งใช้ แต่มีความเหมาะสมที่จะใช้เพียงบางข้อบ่งใช้ หรือมีแนวโน้มว่าอาจจะมี
การสั่งใช้ไม่ถูกต้อง ให้ระบุข้อบ่งใช้และเงื่อนไขการสั่งใช้เพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่าง
สมเหตุสมผล 9
นอกจากนี้ มีการพัฒนาแนวทางมาตรฐานการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health
Technology Assessment - HTA) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมิน อาทิ การใช้เกณฑ์การวัด
ต้นทุนและประสิทธิภาพของยาโดยมี ISafE Score และ Essential Medical Cost Index (EMCI)
ในการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 และการออกคู่มือการประเมิน
เทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทยโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ
เมื่อ พ.ศ. 2550 ด้วย 10
5.3.3 ประเภทของยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ
สำหรับบัญชียาสามารถแบ่งเป็นบัญชี 5 หมวด ก.-จ. ดังนี้
9 คัดลอกมาจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (ม.ป.ป.). บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2542, [ออนไลน์].
สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2556 จาก www.fda.moph.go.th/edl/joke/3.doc
10 สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ,“ความต้องการแนวทางมาตรฐานการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพและการใช้ข้อมูลเพื่อ
การตัดสินใจเชิงนโยบายในประเทศไทย: บทเรียนจากการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ”. ในอุษา ฉายเกล็ดแก้ว และคณะ,
บรรณาธิการ. (2552). คู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย, น.265-296.
บทที่ 5
สถาบันพระปกเกล้า