Page 189 - kpiebook65064
P. 189

โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ   139
                                                                                   เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา




                           ยาใหม่ ยาสามัญใหม่ ยาสามัญ ยาชีววัตถุ และยาแผนโบราณ โดยผู้ยื่นคำร้องต้องจัดทำเอกสาร

                           ตามที่กำหนดไว้สำหรับการขึ้นทะเบียนตำรับยาแต่ละประเภท และทำให้แน่ใจว่าเอกสารและ
                           หลักฐานที่ใช้ประกอบการเสนอเพื่อพิจารณาแก่ทาง อย. เพียงพอ ถูกต้อง และเหมาะสม

                                       โดยบริษัทเอกชนซึ่งเป็นผู้ยื่นคำร้องมีบทบาทสำคัญในระบบอภิบาลยา เนื่องจาก

                           เป็นตัวแสดงหลักที่มีอิทธิพลต่อการวิจัยและพัฒนาด้านยากับการผลิตยาเพื่อออกจำหน่ายในตลาด
                           ผู้ยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนตำรับยามีทั้งบริษัทที่ทำธุรกิจเน้นการวิจัยและพัฒนาการผลิต และทำการ
                           ค้าเกี่ยวกับยาใหม่ และบริษัทที่ทำการเน้นการผลิต และทำการค้าเกี่ยวกับยายาสามัญ รวมถึง

                           สมาคมหรือองค์กรที่เป็นการรวมตัวของบริษัทที่ทำธุรกิจด้านยา อาทิ สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิต
                           ยาแผนปัจจุบัน (Thai Pharmaceutical Manufacturers Association : TPMA) สมาคมผู้วิจัยและ

                           ผลิตเภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutical Research and Manufacturers Association - PReMa)
                           เป็นต้น (ดูรายละเอียดความเป็นมาของสมาคมทั้งสองในภาคผนวก จ.)


                           5.3	 การคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ



                                5.3.1 หลักการทั่วไป


                                     บัญชียาหลักแห่งชาติ (National List of Essential Medicines - NLED) ถือเป็น
                           บัญชียาสำคัญ (Essential Drug List - EDL) ของประเทศ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบ

                           การใช้ยา ของประเทศให้สอดคล้องกับหลัก 5 ประการ ประกอบด้วย 1) ความพอประมาณ
                           2) ความมีเหตุผล 3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว 4) มีความรู้ และ 5) มีคุณธรรม  โดยให้มี
                                                                                                        8
                           รายการยาที่มีความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนไทย ด้วยกระบวนการ

                           คัดเลือกยาที่โปร่งใส และการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ยาที่ได้รับการคัดเลือกต้องเป็นยาที่
                           มีประสิทธิภาพจริง สนับสนุนด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ มีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงจากการใช้

                           ยาอย่างชัดเจน มีความคุ้มค่าตามหลักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและ
                           ความสามารถในการจ่ายของสังคม โดยจัดให้มีกลไกกลางกำกับสำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็น
                           จำเพาะให้สามารถเข้าถึงยาได้


                                     ผู้ที่จัดทำบัญชียาหลักคือ คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งทำหน้าที่
                           กำหนดปรัชญา หลักการและเกณฑ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติไว้ เพื่อเป็นเป้าหมายและ
                           สร้างความเข้าใจร่วมกันของคณะอนุกรรมการฯ และคณะทำงานฯ ที่แต่งตั้งโดยคณะอนุกรรมการฯ

                           ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพทุกสาขา สภาวิชาชีพ หน่วยงานประกันสุขภาพ สถาบันการศึกษา
                           องค์กรที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน คณะอนุกรรมการชุดนี้ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการพัฒนา

                           ระบบยาแห่งชาติ โดยที่คณะอนุกรรมการฯ สามารถแต่งตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญในการคัดเลือก



                                 8  สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. (2556). บัญชียาหลักแห่งชาติ
                           พ.ศ.2556. น. น-ฑ.



                                                                                                             บทที่ 5
                                                                                                     สถาบันพระปกเกล้า
   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194