Page 208 - kpiebook65064
P. 208
158 โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
วิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมทั้งหน่วยงานระดับกองหรือเทียบเท่าขึ้นไปในสังกัดกระทรวง
สาธารณสุข ซึ่งมีการดำเนินการในการจัดหาหรือควบคุมการใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา
สาระสำคัญของระเบียบฯ คือ การบริหารยาจะถูกบริหารในรูปของ
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (PTC) ทั้งในระดับหน่วยราชการและส่วนราชการ
โดยระบุหน้าที่ของคณะกรรมการ หลักเกณฑ์การจัดซื้อ และ วิธีการจัดซื้อ รวมไปถึงอนุญาตให้มี
วิธีการจัดซื้อยารวมในพื้นที่เดียวกันซึ่งการจัดซื้อยาถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 อย่างเคร่งครัดตามตารางที่ 5.8
ตาราง 5.8 สาระสำคัญของระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์
ที่มิใช่ยา พ.ศ. 2543
ประเด็น สาระ
การจัดตั้งคณะกรรมการ ในกรณีการจัดหาหรือควบคุมการใช้ยา ตามข้อ 5 ของระเบียบฯ ได้กำหนดให้
เพื่อการบริหารยา หน่วยราชการหรือส่วนราชการดำเนินการบริหารยาในรูปของคณะกรรมการ
ดังนี้
(ก) หน่วยราชการที่มีคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด ให้
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดเป็นผู้ดำเนินการตามระเบียบนี้
(ข) หน่วยราชการนอกเหนือจาก (ก) ให้ดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ
ตามที่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหรือหัวหน้าหน่วยราชการตั้งแต่ระดับกอง
หรือเทียบเท่าขึ้นไปแต่งตั้งแล้วแต่กรณี
(ค) ส่วนราชการ ให้ดำเนินการในรูปของคณะกรรมการที่หัวหน้าส่วนราชการ
แต่งตั้ง
หน้าที่ของคณะกรรมการ ตามข้อ 6 และข้อ 7 ของระเบียบฯ ได้ให้คณะกรรมการเหล่านี้มีหน้าที่ดังนี้
เภสัชกรรมและการบำบัด 1. เป็นผู้พิจารณาจัดทำบัญชีรายการยาของหน่วยราชการหรือส่วนราชการ
เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผนในการจัดซื้อยาของหน่วยราชการ หรือส่วน
ราชการ
2. จัดทำแผนการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาประจำปี ตามแบบที่ส่วน
ราชการกำหนด เมื่อจัดทำแผนเสร็จแล้ว ให้เสนอคณะกรรมการเหล่านี้ แล้ว
แต่กรณี พิจารณาให้ความเห็นแล้วนำเสนอหัวหน้าหน่วยราชการหรือหัวหน้า
ส่วนราชการให้ความเห็นชอบ จากนั้นให้ดำเนินการให้เป็นไปตามแผน แต่ใน
กรณีที่มีความจำเป็นไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามแผนได้ ให้เสนอ
คณะกรรมการเหล่านี้แล้วแต่กรณี พิจารณาให้ความเห็นและต้องได้รับความ
เห็นชอบจากหัวหน้าหน่วยราชการหรือหัวหน้าส่วนราชการก่อนดำเนินการ
บทที่ 5
สถาบันพระปกเกล้า