Page 213 - kpiebook65064
P. 213
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 163
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
9) ให้มีการรายงานเพื่อการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ จากจังหวัดและ
ส่วนกลางเป็นระยะ รวมทั้งหน่วยงานภายนอก เช่น สำนักงาน
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นต้น
5.4.2 บัญชียาตามประเภทของสถานพยาบาล
บัญชียาของสถานพยาบาลเป็นบัญชีที่มีไว้เพื่อให้แพทย์ในสถานพยาบาลได้สั่งใช้เพื่อให้
เกิดประโยชน์กับผู้รับบริการมากที่สุดและใช้เป็นกรอบการจัดซื้อยาของสถานพยาบาล แต่สถาน
พยาบาลแต่ละประเภทมีภารกิจหน้าที่แตกต่าง การนำยาเข้าสู่บัญชียาของสถานพยาบาลต้อง
พิจารณาถึงหน้าที่ของสถานพยาบาลแต่ละประเภท
ในปัจจุบันตามนโยบายการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารเวชภัณฑ์ พ.ศ. 2542
ได้กำหนดมาตรการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารเวชภัณฑ์ที่เกี่ยวกับบัญชีรายการยาของสถาน
พยาบาล มีหลักการสำคัญสองด้าน ได้แก่ 1) ลดจำนวนรายการยาในบัญชีรายการยาของ
โรงพยาบาลลง โดยกำหนดจำนวนรายการที่ควรมีในโรงพยาบาลแต่ละระดับให้ชัดเจน และ
2) เพิ่มการใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยกำหนดสัดส่วนจำนวนรายการยาในบัญชียาหลัก
14
แห่งชาติในบัญชีรายการยาของโรงพยาบาลแต่ละระดับที่ชัดเจน โดยนโยบายได้กำหนดจำนวน
รายการยาในบัญชียาของสถานพยาบาลและสัดส่วนบัญชียาหลักแห่งชาติในบัญชีรายการยาไว้ ดังนี้
1. หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ (Primary Care)
หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ หมายถึง สถานบริการที่มีภารกิจด้านงานส่งเสริมสุขภาพ
ฟื้นฟูสุขภาพ ป้องกันโรค และการรักษาพยาบาลให้สิ้นทุดที่บริการของผู้ป่วยนอก (OPD) ซึ่งควร
เป็นหน่วยบริการที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางของตำบลที่สุดและประชาชนสามารถเดินทางเข้าถึงบริการ
สะดวกที่สุด โดยมีแพทย์ให้บริการในหน่วยบริการในลักษณะหมุนเวียนหรือบริการประจำเป็น
แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป เวชศาสตร์ครอบครัว เวชศาสตร์ป้องกัน อาชีวเวชศาสตร์ หรือระบาดวิทยา
กระทรวงสาธารณสุขให้หน่วยบริการปฐมภูมิกำหนดเป็นระดับบริการ 1 ได้แก่
สถานีอนามัย (สอ.) (หรือต่อมาพัฒนาเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทั้งที่สังกัด
กระทรวงสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานบริการสาธารณสุขชุมชน (สสช.)
ศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU) ของโรงพยาบาล ศูนย์สุขภาพชุมชน และศูนย์บริการสาธารณสุข
เนื่องจากหน่วยบริการระดับปฐมภูมิเน้นทำหน้าที่ในงานส่งเสริมและป้องกันเป็น
หลัก ทำให้บัญชียาของโรงพยาบาลไม่ค่อยมียานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ส่วนการจัดซื้อยาจะผ่าน
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ซึ่งมีหน้าที่ต่อรองราคายากับผู้จำหน่าย ซึ่งทำให้ได้ยาในราคา
ถูก เพราะมีอำนาจต่อรองที่สูงกว่าการจัดซื้อแยกตามโรงพยาบาล เนื่องจากเป็นการจัดซื้อสำหรับ
หลาย ๆ โรงพยาบาลในจังหวัด ทำให้สถานพยาบาลระดับเดียวกัน ในจังหวัดเดียวกัน มียาทั่วไป
ที่เป็นยาตัวเดียวกัน
14 ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข. (2542). นโยบายการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารเวช
ภัณฑ์ [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2556, จาก http://dmsic.moph.go.th/system/system2.htm
บทที่ 5
สถาบันพระปกเกล้า