Page 212 - kpiebook65064
P. 212
162 โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
(Use) ให้มีประสิทธิภาพ โดยประสิทธิภาพในที่นี้หมายถึง การได้ยาดี มีคุณภาพ ราคาประหยัด
และมีการสั่งใช้อย่างสมเหตุสมผล 13
กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดหลักการปฏิรูประบบบริหารเวชภัณฑ์ ดังนี้
1) ให้ยึดกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการจัดซื้อ ทั้งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจัดซื้อ
ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา พ.ศ. 2543 และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร
เวชภัณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข
2) ให้มีการวางแผนโดยผู้เกี่ยวข้องกับการใช้ยามีส่วนร่วมกันในการบริหาร
เวชภัณฑ์ โดยดำเนินการในรูปของคณะกรรมการในทุกระดับ และมี
แผนการจัดซื้อที่เป็นรูปธรรมชัดเจน สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละ
หน่วยงาน
3) การตัดสินใจซื้อเวชภัณฑ์ต้องอาศัยข้อมูลทั้งในเรื่องปริมาณและราคา
เวชภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวให้ถูกต้อง
4) พัฒนาระบบข้อมูลอ้างอิงในเรื่องราคาเวชภัณฑ์ (Reference price)
ที่หน่วยงานต่าง ๆ สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการจัด
ซื้อ การกำกับติดตามและตรวจสอบได้
5) บัญชีรายการยาของสถานพยาบาลเป็นบัญชีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
มีจำนวนรายการยาน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น และใช้ข้อมูลด้านประสิทธิภาพ
คุณภาพ ความปลอดภัย และราคา ประกอบการพิจารณาตัดสินใจคัดเลือกยา
6) พัฒนาระบบการจัดหายาให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มอำนาจต่อรองในการจัดหา
ยาร่วมกันในระดับจังหวัด กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกคุณภาพยาที่เหมาะสม
และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดหา
7) พัฒนาระบบการบริหารคลังเวชภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ การหมุนเวียนยาดี
ขึ้น ลดปริมาณยาสำรองในคลังลง เพื่อลดต้นทุนการสำรองยาและการ
บริหารยาลง
8) ให้มีการสั่งใช้ยาเป็นไปอย่างเหมาะสมและสมเหตุสมผล มีระบบข้อมูล
ป้อนกลับเกี่ยวกับการใช้ยาแก่แพทย์ มีระบบติดตามและประเมินผลการใช้
ยา (Drug Therapy Monitoring, Drug Use Evaluation and Feedback)
13 ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข. (2542). นโยบายการพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหาร
เวชภัณฑ์ [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2556, จาก http://dmsic.moph.go.th/system/system2.htm
บทที่ 5
สถาบันพระปกเกล้า