Page 270 - kpiebook65064
P. 270
220 โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
ตามกฎหมายให้นายกฯ เป็นประธานซึ่งสามารถมอบให้รองนายกฯ มานั่งได้ ซึ่งสามารถวิ่งเต้น
ให้มาลงตำแหน่งได้ และมีความพยายามแทรกแซงในการปลด........ที่มีความพยายามเพิ่มยาบางตัว
ลงในบัญชียาหลัก”
27
(2) บทบาทของคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ
คณะอนุกรรมการฯ มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้เสนอเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการพัฒนา
ระบบยาแห่งชาติ ที่ผ่านมาโครงสร้างของคณะอนุกรรมการฯ มีสัดส่วนค่อนข้างดีแต่ขึ้นอยู่กับ
ความเข้มแข็งของฝ่ายประธานและเลขานุการ อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลของ
คณะอนุกรรมการฯ มีลักษณะตามตัวบุคคลมาก ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านกังวลว่าบทบาทและ
คุณสมบัติของประธานคณะอนุกรรมการฯ เป็นตัวแปรสำคัญในเรื่องนี้เพราะ “....ประธาน
อนุกรรมการที่เป็นเสมือนประธานฝ่ายวิชาการที่พิจารณาคัดเลือกยาและชงเรื่องเข้าเสนอต่อคณะ
กรรมการชุดใหญ่ กล่าวคือขึ้นอยู่ว่าประธานมีความเข้มแข็งและมีเกียรติมากแค่ไหน นอกจากนี้
28
ฝ่ายเลขานุการมีการทำหน้าที่ได้เข้มแข็งและเหมาะสมมากเพียงใด” เช่นเดียวกับผู้ให้สัมภาษณ์
อีกท่านที่มองว่า “ไม่รู้ว่าจะยั่งยืนได้อย่างไร เพราะคณะกรรมการก็เปลี่ยนไป ถ้าเราได้กรรมการดี
เราก็จะได้ระบบที่ดี แต่ถ้าได้ประธานที่ไม่ดี ก็จะมีปัญหาในเรื่องยา เป็นปัญหาธรรมาภิบาลยา
ทั้งหมดเป็นผลมาจากการที่บ้านเราใช้ระบบกรรมการ” 29
ส่วนคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญการคัดเลือกยาจะเป็นการพิจารณาร่วมกันระหว่าง
ประธานคณะทำงานที่ได้รับการแต่งตั้งกับทาง อย. ก่อนที่จะเสนอคำสั่งให้ประธานคณะอนุกรรม
การฯ แต่งตั้ง แต่ในการเลือกคณะทำงานพบว่า บางครั้งมีความเสี่ยงจากภูมิหลังของคณะทำงาน
บางท่านที่ไม่สามารถตรวจสอบประวัติได้อย่างครบถ้วน
(3) ประสิทธิภาพและการมีส่วนร่วมของคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลัก
แห่งชาติและคณะทำงานชุดต่าง ๆ
ผู้ให้สัมภาษณ์มองว่า ปัจจุบันการปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการและ
คณะทำงานชุดต่าง ๆ ค่อนข้างมีประสิทธิภาพและยึดตามหลักฐาน (Evidence-Based) มากกว่า
การใช้ดุลพินิจ “เพราะเป็นการพิจารณาตัวข้อมูลเชิงวิชาการ แต่ก็มีเปิดโอกาสให้เอกชนเอาข้อมูล
มาเสนอ เป็นการคุยกันในเชิงข้อมูลเชิงประจักษ์มากกว่า เรารับฟังเขานะ แต่เขาต้องเอาข้อมูลเชิง
ประจักษ์มาแสดง แล้วนอกจากนี้เราก็ต้องฟังจากฝั่งผู้ใช้หมอ และฝั่งคนไข้ด้วย” 30
นอกจากนี้ มีการถ่วงดุลคณะทำงานที่เป็นผู้เชี่ยวชาญไม่ให้มีการครอบงำในรูปของ
ความเห็นผู้เชี่ยวชาญหรือ “Expert Opinion” เช่น การใช้ ISafE เป็นเครื่องมือในการพิจารณา
ประสิทธิภาพ การใช้ HITAP มาช่วยในการพิจารณาความคุ้มทุนด้านเศรษฐศาสตร์ และการสร้าง
27 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ B. วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556
28 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ B. วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556
29 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ F, วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
30 สัมภาษณ์, ผู้ให้สัมภาษณ์ I. J. และ K, วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557
บทที่ 6
สถาบันพระปกเกล้า