Page 514 - kpiebook65064
P. 514
464 โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
11) จากแนวทางของ WHO ซึ่งมีหลายองค์ประกอบ ส่วนหนึ่งคือการศึกษาลักษณะ R&D
and clinical trials จะเป็นองค์ประกอบหลักเพื่อการมองภาพทั้งหมดของทั้งระบบ และ
เพื่อไม่ให้ละเลยในขั้นตอนอื่นๆ แนวคิดนี้จึงเป็นกลไกทั้งระบบเพื่อการมองภาพใหญ่
การ approve เฉพาะประเด็น เช่น registration, selection, procurement ก็จะมี
ข้อจำกัด ทำให้มีข้อเสนอเฉพาะประเด็นนั้น โดยมองไม่ถึงภาพใหญ่ได้ไม่ครบถ้วน
แนวคิดนี้จึงเป็นกลไกของทั้งระบบที่จะมองภาพใหญ่
12) การทบทวนวรรณกรรมมีความสำคัญมาก แนวคิด Good Governance ในประเทศไทย
มีความพยายามทำตามแนวคิดนี้ เช่น นโยบายกำหนดบัญชียาหลักแห่งชาติ การจำกัด
การเลือกใช้ยาที่อนุมัติแล้ว ซึ่งควรได้มีการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าว นอกจากนี้ยังมี
เรื่องการทำนโยบาย Good Health at Low cost เมื่อปี 2550 นอกจากนั้นกรณี
บางโรงพยาบาลสั่งยาเก็บไว้ใน stock ยาเป็นเวลาหลายปี ก็จำเป็นต้องทบทวนเพื่อให้เห็น
ว่ามีกระบวนการอะไรอยู่บ้าง และสามารถนำประวัติความเป็นมาใช้ในการวิจัยต่อเนื่องได้
และเป็นเรื่องราวที่มีอยู่แล้วโดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่
13) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ มีการใช้เมื่อปี ค.ศ. 2004 และใช้เครื่องมือของ WHO โดยมี
อ.นิยดา (ผศ. ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
เป็นผู้ทำวิจัย และมีเอกสารวิชาการเผยแพร่อยู่ในเว็บไชต์ของ WHO และประเทศไทย
เป็นประเทศเดียวในโลกที่มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยา ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2542
ที่รายงานว่าโรงพยาบาลไหนซื้อยาจากบริษัทไหน ราคาเท่าไหร่ ซึ่ง WHO ยืนยันว่าไม่มี
ประเทศไหนทำได้ และ WHO ให้ประเทศไทยเป็น best practice โดยเฉพาะเรื่อง
transparency ขอให้ทีมวิจัยสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม
14) การมีเอกสารและวิสัยทัศน์เรื่องต่อต้านคอรัปชั่นและ good governance ซึ่งมี
2 approach คือ 1) top down 2) bottom up กรณีที่ไม่สามารถออกเป็นกฎหมายได้
ก็จะใช้ Ethical กำกับ tool ที่ใช้ Ethical กำกับคือ medical code of conduct,
socialization เป็นต้น รายละเอียดเหล่านี้สามารถค้นหาเป็น recommendation ได้ ก็จะ
ได้เป็น systematic approach มากกว่าชี้ประเด็นที่จุดใดจุดหนึ่ง การมีกฎหมาย
anticorruption, การมี regulation ต่างๆ, การมี good governance การมีกลไกรับผิด
ชอบต่างๆ เป็นต้น ทั้งหมดค้นหาได้ที่เว็บไชต์ของ WHO
15) ขอให้นักวิจัยมองภาพผลการวิเคราะห์เป็น systematic improvement มากกว่าการ
ชี้ประเด็นเพื่อแก้ไขที่จุดใดจุดหนึ่ง หากการใช้กฎหมายเป็นตัวตั้งก็จะเป็นไปไม่ได้
แต่ต้องใช้ vision เป็นตัวตั้ง และมียุทธศาสตร์ที่เห็นภาพใหญ่ และพิจารณาว่าการจะให้
บรรลุยุทธศาสตร์ต้องการเครื่องมืออะไรบ้าง เช่น ต้องการกรอบแนวคิดเชิงวิชาการอะไร
องค์ความรู้อะไร กลไกอะไร ข้อมูลข่าวสารอะไร เป็นต้น ซึ่งจะเป็น comprehensive
approach มากกว่า single model หากได้ปรับประเด็นเหล่านี้และนำข้อค้นพบ
มาวิเคราะห์ผลจะทำให้ข้อเสนอสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ภาคผนวก
สถาบันพระปกเกล้า