Page 515 - kpiebook65064
P. 515
โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ 465
เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
16) การนำกรอบของ WHO มาใช้ในการวิจัยนั้น เห็นว่ายังมีมุมมองเป็นกลางๆ หากนำกรอบ
ของ WHO จำเลยจะตกที่ อย. เกือบทั้งหมด แต่ถ้าหากวิเคราะห์ตามสภาพความเป็นจริง
แล้ว ระดับที่เหนือจาก อย. ยังมีอีกหลายชั้นเช่น นักการเมือง ซึ่งต้องมองเชิงระบบที่มี
ระดับสูงขึ้นอีก
17) กระบวนการจัดซื้อยาที่ทั้ง 3 กลุ่มมองเหมือนกัน แต่ยังขาดผู้เล่นที่สำคัญคือองค์การ
เภสัชกรรม (GPO) ที่เป็นผู้เล่นสำคัญและเป็นตัวเลือกที่สำคัญของภาครัฐ จึงอยากให้
เพิ่มการวิเคราะห์ของธรรมาภิบาลและ efficiency ด้วย และยังขาดข้อเสนอแนะเชิง
priority system จึงควร focus ที่ระบบของราชการ ข้าราชการประจำก็ต้องแสดงบทบาท
ที่ชัดเจน และไม่ควรโทษฝ่ายการเมือง จำเป็นต้องสร้างกลไกที่สามารถถ่วงดุลทั้ง 2 ส่วน
ให้เหมาะสม
18) ข้อเสนอแนะยังขาดประเด็น National pricing authority เพื่อสะท้อนให้เห็นกระบวนการ
ที่ดีในเชิงระบบทั้งในส่วนของการเมืองและระบบราชการ ส่วนกลไกราคาก็ขอให้มีข้อเสนอ
แนะเช่นกัน GPO เป็นตัวอย่างที่ดี และแนวคิด สตง. ในมุมมองจัดซื้อที่ต้องสร้างให้มี
ความเข้าใจในกระบวนการ และเรื่องกฎหมายมาเสริมอีกประเด็น
19) บัญชียาหลักแห่งชาติมีกระบวนการเชิงระบบที่ดีที่ชัดเจนแล้ว แต่ขอให้เสริมส่วนที่ขาดคือ
เรื่องราคา และการตรวจสอบหลังจากนำเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติด้วย
ภาคผนวก
สถาบันพระปกเกล้า