Page 53 - kpiebook65064
P. 53
1.1 หลักการและความสำคัญ
ระบบอภิบาลยาถือเป็นระบบที่มีองค์ประกอบและกระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวกับการ
คัดเลือกยา (Selection of Drug) การผลิตและการนำเข้า (Production and Importation) การ
1
จัดหาและกระจายยา (Drug Procurement and Distribution) และการใช้ยา (Drug Utilization)
เพื่อให้ได้ยาที่มีคุณภาพดี ราคาที่เหมาะสม มีให้บริการอย่างเพียงพอ และมีการใช้อย่างสมเหตุ
สมผล แต่หากพิจารณา “ยา” ในฐานะทรัพยากรชนิดหนึ่งแล้วการบริหารยาถือเป็นส่วนหนึ่งของ
การบริหารทรัพยากรด้านการสาธารณสุขประเภทหนึ่งที่มีความสลับซับซ้อนและประสบปัญหา
มากที่สุดประเภทหนึ่งที่นำมาซึ่งความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล ถ้าพิจารณาจากมิติของค่าใช้จ่ายด้าน
ยาซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายสำคัญของสถานพยาบาล โดยมูลค่ายาเพื่อการบริโภคตามราคาในรายการราคา
(price list) มีมูลค่าสูงถึง 134,482,077,858 บาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 35 ของค่าใช้จ่ายด้าน
สุขภาพ นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากรายจ่ายด้านสุขภาพและรายจ่ายด้านยาของประเทศตาม
2
แผนภูมิที่ 1.1 และ 1.2 มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 82,888 ล้านบาทใน พ.ศ. 2541 เป็น
272,841 ล้านบาทใน พ.ศ. 2551 คิดเป็นร้อยละ 3.01 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
3
เห็นได้ชัดว่าการบริหารจัดการด้านยาของประเทศไทยเกี่ยวข้องกับภาระงบประมาณของภาครัฐ
รวมถึงการจัดสรรและการใช้ยาในฐานะทรัพยากรอย่างหนึ่งในการดูแลสุขภาพของประชาชน
ยาก็เฉกเช่นเดียวกับการบริหารจัดการทรัพยากรอื่น ๆ ของภาครัฐที่มีโอกาสเกิดความเสี่ยงด้าน
ธรรมาภิบาล เช่น ปัญหาการขึ้นทะเบียนตำรับยาที่ล่าช้าและขาดการทบทวน ปัญหาการทุจริต
ในการจัดซื้อยาที่ส่งผลต่อความโปร่งใสและประสิทธิภาพ ปัญหาการใช้ยาเกินความจำเป็นและ
ขาดความสมเหตุสมผล ปัญหาการส่งเสริมการขายยาที่ขาดความเหมาะสมและจูงใจให้เกิดการใช้
1 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ. (2537). ระบบยาของประเทศไทย. หน้า 8
2 ชะอรสิน สุขศรีวงศ์. (27 กุมภาพันธ์ 2555). กลยุทธ์การกำหนดและควบคุมราคา : ก่อนขาย (หลังขึ้น
ทะเบียนยา) เมื่อคัดเลือกเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติและโดยผู้จ่ายค่ายารายใหญ่.
3 สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ, วิชัย โชควิวัฒน และศรีเพ็ญ ตันติเวสส, บรรณาธิการ. (2554). การสาธารณสุขไทย
2551-2553.