Page 15 - kpi12626
P. 15
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวมากน้อยเพียงใด คาดว่าจะสามารถก่อหนี้ยืมสิน
เพื่อนำมาขยายโอกาสในการดำเนินธุรกิจได้มากน้อยเท่าใด และมีโอกาสที่
จะบริหารการเงินและการดำเนินงานขององค์กรให้ประสบผลสำเร็จหรือไม่
เพราะถ้าหากผู้บริหารองค์กรไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้แล้วไซร้
โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการขยายขอบเขตการดำเนินงานคงเป็น
เรื่องที่ยาก เพราะไม่ช้าก็เร็วก็จะต้องถูกประเมินและตรวจสอบจากสถาบัน
การเงินในเรื่องต่างๆ เหล่านี้อยู่ดี
ฉันใดก็ฉันนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลีกหนีสภาวะดังกล่าวไป
ไม่พ้นเช่นกัน หากเราเปรียบประชาชนเป็นดั่ง “ผู้ว่าจ้าง (principal)” ที่
มอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการจัดบริการสาธารณะด้าน
ต่างๆ ให้กับผู้ว่าจ้างอย่างทั่วถึงและเพียงพอ โดยที่ผู้ว่าจ้างจะให้การ
สนับสนุนโดยการจ่ายภาษีหรือค่าบริการต่างๆ ให้แล้วนั้น ผู้ว่าจ้างก็คง
ต้องการทราบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะสามารถดำเนินงานได้ประสบ
ผลสำเร็จหรือไม่ ท้องถิ่นจะมีทรัพยากรทางการเงินเพียงพอสำหรับการจัด
บริการสาธารณะได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ และในระหว่างการบริหารงานนั้น
ท้องถิ่นได้ใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนผู้ว่าจ้างอย่างคุ้มค่า โปร่งใส และมี
ประสิทธิผลมากน้อยเพียงใด และเมื่อผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หมดวาระการบริหารงานลงไปแล้วนั้น ได้ก่อให้เกิดความเจริญแก่ชุมชน
ท้องถิ่นมากน้อยเพียงใด สินทรัพย์ขององค์กรยังคงอยู่ครบถ้วนไม่สูญหายไป
ใช่หรือไม่ ภาระหนี้สินขององค์กรพอกพูนเพิ่มขึ้นจนล้นพ้นตัวหรือไม่อย่างไร
ในยุคสมัยของการบริหารงานภาครัฐในปัจจุบัน ผู้บริหารองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นคงจะปฏิเสธความรับผิดชอบที่จะให้ความกระจ่างชัดแก่
ประชาชนผู้ว่าจ้างในประเด็นการบริหารการเงินการคลังเหล่านี้ไปไม่พ้น
หากแต่จะต้องรายงานผลให้แก่ผู้ว่าจ้างได้รับทราบอย่างครบถ้วนในช่วง
จังหวะเวลาที่เหมาะสม และถึงแม้ว่าประชาชนผู้ว่าจ้างจะไว้วางใจให้
ผู้บริหารท้องถิ่นสามารถดำเนินงานได้โดยอิสระตลอดวาระของการดำรง
ตำแหน่งก็ตาม หากผู้บริหารท้องถิ่นมิได้เริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับผลการดำเนิน