Page 18 - kpi12626
P. 18
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่พบบ่อยครั้งอาจจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มที่สำคัญ
ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ปัญหาในการบริหารสภาพคล่องทางการเงินทั้ง
ระยะสั้นและระยะยาว
ในประเด็นแรก ผู้บริหารขององค์กรปกครองท้องถิ่นส่วนใหญ่ต่าง คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ไม่ทราบว่าจะมีเงินรายได้เข้ามาเมื่อใด และ/หรือไม่ทราบว่าจะได้รับ
การจัดสรรเงินภาษีหรือเงินอุดหนุนมาให้ในแต่ละงวดเป็นจำนวน
2
เท่าใด ปัญหาด้านนี้นับว่ามีความสำคัญยิ่งและส่งผลกระทบที่รุนแรง
ต่อการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรง โดยเฉพาะเมื่อ
ท้องถิ่นไทยต่างมีโครงสร้างรายได้ที่ต้องพึ่งพาภาษีแบ่ง/ภาษีจัดสรรและ
เงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางในสัดส่วนที่สูงมาก การที่ท้องถิ่นไม่ทราบข้อมูล
ดังกล่าวย่อมส่งผลทำให้การจัดบริการสาธารณะอาจเกิดการสะดุดขาดตอน
และอาจส่งผลให้การวางแผนใช้จ่ายงบประมาณและการลงทุนขาดความ
ต่อเนื่องได้
ประการต่อมา ผู้บริหารท้องถิ่นจำนวนไม่น้อยขาดการวางแผนจัดเก็บ
เงินสะสม หากแต่มุ่งใช้จ่ายเพื่อสร้างฐานเสียงทางการเมืองเป็นอย่างมาก
ทำให้บ่อยครั้งที่ระดับเงินสะสมอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดตามระเบียบของ
3
กระทรวงมหาดไทย และส่งผลต่อเนื่องให้ผู้บริหารไม่สามารถทราบได้
อย่างชัดเจนว่าจะมีเงินสะสมเพียงพอสำหรับนำมาใช้ในยามฉุกเฉิน
หรือไม่ หรือจะสามารถนำออกมาใช้ในการบริหารสภาพคล่องระยะสั้น
ในสภาวะที่เงินสดขาดมือได้มากน้อยเพียงใด ภายใต้บริบทของ
การบริหารงานท้องถิ่นในยุคปัจจุบัน ความผันผวนทางเศรษฐกิจ ความ
ไม่แน่นอนทางการเมืองในระดับชาติ ภัยธรรมชาติและภัยพิบัติต่างๆ ล้วน
2 รายละเอียดในเรื่องนี้อ่านเพิ่มเติมได้จาก จรัส สุวรรณมาลา (2541) เป็นต้น
3 ได้แก่ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน
การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2547