Page 16 - kpi12626
P. 16

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:


                  งานขององค์กรตนเอง หรือมิได้ตรวจสอบประเมินถึงฐานะทางการเงินของ
                  องค์กรแล้ว ก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่าการให้บริการของท้องถิ่นจะดำเนินไปอย่าง

                  ราบรื่นเพียงใด ตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้ว่าจ้างหรือไม่ และ
                  จะมีทรัพยากรทางการเงินสำหรับการจัดบริการได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่
                  อย่างไร ท้ายที่สุด ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นย่อมไม่สามารถจัดทำแผน
                  บริหารการเงินและการจัดบริการสาธารณะที่มีทิศทางที่ชัดเจน เปรียบเสมือน  คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                  กับการแล่นเรือในมหาสมุทรโดยที่เรือลำนั้นไม่มีหางเสือ

                        ดังนั้น ผู้บริหารท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือทางการบริหารหลาย

                  ประการเพื่อช่วยในการติดตามประเมินผลว่าองค์กรปกครองท้องถิ่นมี
                  ทรัพยากรทางการเงินเพียงพอสำหรับการจัดบริการสาธารณะให้แก่
                  ประชาชนได้อย่างต่อเนื่องมากน้อยเพียงใด และในแต่ละช่วงเวลา ท้องถิ่นมี
                  ข้อจำกัดในการบริหารสภาพคล่องทางการเงินหรือไม่ จะสามารถนำเงิน
                  สะสมออกมาใช้หรือควรก่อหนี้เพิ่มขึ้นเพื่อนำไปสู่การขยายขอบเขตการให้

                  บริการขององค์กร หนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยตอบประเด็นคำถามทางการ
                  บริหารนี้ก็คือ “การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วน
                  ท้องถิ่น (local financial position analysis)”

                        เป็นที่น่าเสียดายว่าหลังจากที่ประเทศไทยผลักดันเรื่องการกระจาย
                  อำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมา ยังไม่
                  ปรากฏว่ามีหน่วยงานใดริเริ่มหรือให้การส่งเสริมการพัฒนาเครื่องมือสำหรับ

                  ใช้ในการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่าง
                  จริงจัง ถึงแม้ว่ากรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและสำนักงานการตรวจเงิน
                  แผ่นดิน (สตง.) จะทำหน้าที่ตรวจสอบประเมินผลการปฏิบัติงานของท้องถิ่น
                  แห่งต่าง ๆ แต่ทว่าแนวปฏิบัติที่เป็นอยู่เป็นเพียงการตรวจสอบถึงความ
                  ถูกต้องในเชิงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                  ปฏิบัติตามได้หรือไม่เป็นสำคัญ แต่ยังมิได้มีการวิเคราะห์ประเมินว่าท้องถิ่น
                  มีสภาพคล่องทางการเงินทั้งในระยะสั้นและระยะยาวที่เพียงพอสำหรับการ

                  จัดบริการให้แก่ประชาชนได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ หรือองค์กรปกครองท้องถิ่น
                  ของไทยส่วนใหญ่มีภาระหนี้สินระยะยาวมากเกินไปหรือไม่ ดังนี้เป็นต้น
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21