Page 20 - kpi12626
P. 20
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
ท้องถิ่น (หรือผู้แทนส่วนราชการที่ได้รับมอบหมาย อาทิ ผู้ว่าราชการจังหวัด
นายอำเภอ ฯลฯ เป็นต้น) แต่ก็ไม่อาจนิ่งนอนใจได้ว่าการจัดทำข้อมูลให้ครบ
ตามเงื่อนไขของกฎระเบียบในการปฏิบัติราชการและวิธีการงบประมาณของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้ว เพราะนักบริหารงาน
ท้องถิ่นยุคใหม่ย่อมไม่หยุดนิ่งเพียงแค่การจัดทำรายงานข้อมูลต่างๆ
ให้ครบถ้วนตามข้อกำหนดของกฎหมาย แต่จะต้องคิดต่อยอดในเชิง คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
ยุทธศาสตร์ว่าจะสามารถใช้ประโยชน์จากรายงานข้อมูลทางการเงิน
การบัญชีในการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลสูงสุดได้อย่างไร
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพิจารณาถึงฐานะทางการเงินขององค์กรแล้ว
ผู้บริหารท้องถิ่นควรวิเคราะห์ได้ว่า (1) องค์กรของตนมีปัญหาในการบริหาร
จัดการหรือปัญหาในทางปฏิบัติประการใดจึงส่งผลทำให้การบริหารสภาพ
คล่องทางการเงินเกิดการสะดุด มีรายได้เข้ามาจำกัดหรือต่ำกว่าเป้าหมาย
ประมาณการ หรือว่าเป็นเพราะท้องถิ่นมีภาระรายจ่ายโดยรวมหรือในบาง
แผนงานที่สูงเกินควร (2) สามารถตอบคำถามได้ว่าองค์กรปกครองท้องถิ่น
ของตนมีทรัพย์สินที่อยู่ในความดูแลมากน้อยเพียงใด มีการใช้งานที่เกิด
ประโยชน์สูงสุดหรือสามารถสร้างผลตอบแทนให้แก่ท้องถิ่นได้เต็มศักยภาพ
แล้วหรือไม่ หรือ (3) ท้องถิ่นมีขีดความสามารถทางการเงินที่เพียงพอสำหรับ
การลงทุนที่จำเป็นเพื่อการเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการแก่
ประชาชนตามความเจริญเติบโตของชุมชนท้องถิ่นหรือไม่ ดังนี้เป็นต้น
ฉะนั้น การที่ผู้บริหารท้องถิ่นจะมัวแต่รอคอยการรายงานข้อมูล
จากฝ่ายการคลังหรือฝ่ายข้าราชการประจำดังเช่นที่เคยปฏิบัติกันมา
อาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ทันการณ์ อาจได้ข้อมูลไม่ตรงกับ
ที่ต้องการ ไม่สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์หรือตีความเพื่อสื่อสารให้
พนักงานท้องถิ่นและ/หรือให้แก่ประชาชนทั่วไปเข้าใจร่วมกัน และมิอาจนำ
ไปใช้ในการกำหนดทิศทางการบริหารงานท้องถิ่นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ร่วมกันภายใต้ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณขององค์กร