Page 19 - kpi12626
P. 19
การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
เป็นปัจจัยผลักดันที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำเป็นต้องมีกันชน
ทางการเงิน (financial buffer) ด้วยการเก็บออมเงินสะสมไว้ให้เพียงพอสำหรับ
รับมือกับสภาวะผันผวนที่อาจเกิดขึ้น มิเช่นนั้นแล้ว คุณภาพชีวิตของ
ประชาชนที่รอคอยการช่วยเหลือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมได้รับ
ผลกระทบ
ในประเด็นที่สาม การก่อหนี้หรือภาระผูกพันขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุอุปกรณ์หรือเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ
สำหรับการจัดการหรือการขยายขอบเขตบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน
อย่างไรก็ดี การก่อหนี้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวที่มากเกินตัว ก็ส่งผลเสีย
ต่อการรักษาวินัยทางการเงินการคลังและต่อความน่าเชื่อถือในการชำระหนี้
คืนในอนาคตได้ และกลายเป็นการผลักภาระให้แก่ประชาชนในรุ่นหลังโดย
ไม่จำเป็น ในเรื่องนี้ผู้บริหารท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องมีระบบข้อมูลที่สามารถ
นำเสนอได้ว่าภาระหนี้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นมีเป็นจำนวนเท่าใด จะสามารถเพิ่มการก่อหนี้
เพื่อขยายขนาดการลงทุนในการจัดบริการสาธารณะหรือควรลด
ระดับการก่อหนี้เพื่อการลงทุนลง และควรตรวจสอบติดตามได้ว่า
ท้องถิ่นมีเงินสดมากเพียงพอที่จะจ่ายคืนให้แก่เจ้าหนี้ทันกำหนดเวลา
หรือไม่ เป็นที่น่าเสียดายว่าระบบข้อมูลการเงินการบัญชีขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นยังมีข้อจำกัดในการรายงานผลในประเด็นต่างๆ ดังกล่าวให้
ชัดเจน
กลุ่มที่ 2 ปัญหาในการวางแผนการเงินและงบประมาณ
จากรายงานข้อมูลทางการเงินการบัญชี
ปัญหาในกลุ่มที่สองเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลทาง
การเงินการบัญชีเพื่อการวางแผนจัดบริการสาธารณะและการวางแผน
งบประมาณของท้องถิ่น ถึงแม้ว่าปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้อง
จัดทำรายงานข้อมูลทางการเงินการบัญชีส่งให้แก่กรมส่งเสริมการปกครอง