Page 48 - kpi12626
P. 48
3.1 หลักการพื้นฐาน
เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการดำเนินภารกิจประจำ
วันขององค์กรปกครองท้องถิ่นต่างต้องใช้ทรัพยากรทางการเงิน
ด้วยกันทั้งสิ้น หากวันใดท้องถิ่นไม่มีสภาพคล่อง ไม่สามารถ
เบิกจ่ายค่าใช้สอยได้ในแต่ละวัน อาจส่งผลทำให้การจัดบริการ
สาธารณะประจำวันต้องสะดุดหรือขาดตอนลง ซึ่งแน่นอนว่า
ย่อมไม่เป็นผลดีต่อประชาชนทั่วไปในชุมชน ลองจินตนาการว่า
หากท้องถิ่นไม่มีเงินเพียงพอสำหรับเติมน้ำมันรถจัดเก็บขยะ
หรือไม่มีเงินสดสำหรับจัดเตรียมอาหารกลางวันให้แก่เด็ก
นักเรียน คงเป็นสภาวะที่ประชาชนในชุมชนไม่ต้องการให้เกิด
ขึ้นเท่าใดนัก
เพื่อให้ทราบว่าการบริหารสภาพคล่องทางการเงินใน
ระยะสั้นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเช่นใด จึงจำเป็น
ต้องมีการประเมินฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองท้องถิ่น
ว่าที่ผ่านมามีระดับสภาพคล่องมากน้อยเพียงใดและสามารถ
ชำระภาระผูกพันทางการเงินในระยะสั้นได้อย่างเพียงพอหรือ
ไม่ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้จากอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ
4 ประการดังนี้ (1) อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
(2) อัตราส่วนเงินสด (Cash Ratio) (3) อัตราส่วนหนี้สิน
หมุนเวียน (Current Liabilities Ratio) และ (4) สัดส่วนของลูกหนี้
ภาษีท้องถิ่น (ได้แก่ ภาษีโรงเรือนและทรัพย์สิน ภาษีบำรุง
ท้องที่ ภาษีป้าย อากรฆ่าสัตว์ และภาษีท้องถิ่นอื่นๆ) เมื่อ
เปรียบเทียบกับขนาดของภาษีอากรที่จัดเก็บเอง (Tax
Receivables Ratio from Own-Sources)
ดัชนีชี้วัดทางการเงิน 3 ตัวแรกบ่งบอกถึงความสามารถ
ทางการเงินขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการชำระภาระผูกพัน