Page 43 - kpi12626
P. 43
32 การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
(benchmarking) ว่ามีจุดแข็งหรือข้อจำกัดด้านฐานะทางการเงินเช่นใด (หรือ
อาจเปรียบเทียบองค์กรเดียวกันในช่วงเวลาหลายปีตามที่ต้องการได้) ซึ่งใน
หนังสือเล่มนี้จะนำเสนอค่าอ้างอิงจากเทศบาลที่มีขนาดต่างๆ จำนวน 972
แห่ง โดยใช้ข้อมูลในปีงบประมาณ 2552 (ผู้เขียนจะนำเสนอค่าอ้างอิง
ดังกล่าวไว้ในเนื้อหาบทต่อๆ ไป)
ขั้นตอนที่สี่ ได้แก่การพยายามค้นหาคำอธิบายที่เป็นระบบและ
ชัดเจนว่าสาเหตุใดที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีค่าดัชนีชี้วัดฐานะ
ทางการเงินในแต่ละด้านที่สูงหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (หรือใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย)
ของกลุ่มเทศบาลอ้างอิง สาเหตุต่างๆ อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยภายนอก
(external causes) และปัจจัยภายใน (internal causes) อาทิ ความผันผวนทาง
เศรษฐกิจและประชากร นโยบายการจัดบริการสาธารณะ แนวปฏิบัติในการ
จัดเก็บภาษีท้องถิ่น การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การจ้าง
บุคลากร การลงทุนในครุภัณฑ์หรือโครงการต่างๆ แนวนโยบายในการจัด
เก็บและใช้จ่ายเงินสะสม การก่อหนี้ระยะยาว และการใช้ประโยชน์จาก
ทรัพย์สินต่างๆ ของท้องถิ่น ฯลฯ เป็นต้น
ในขั้นตอนนี้เอง ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจัดให้มี
การประชุมในระดับนโยบาย การประชุมร่วมกับฝ่ายสภาองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น การประชุมผู้บริหารฝ่ายประจำและฝ่ายปฏิบัติการ หรือแม้แต่การ
ประชุมร่วมกับประชาคม เพื่อร่วมกันหาสาเหตุที่มาของปัญหาในการบริหาร
การเงินการคลังของท้องถิ่น ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในเรื่องนี้ก็คือการ
วิเคราะห์หาสาเหตุมิใช่เป็นการหาแพะรับบาปหรือการโยนปัญหาว่าเกิดขึ้น
จากปัจจัยภายนอกเพียงอย่างเดียว ความผันผวนทางการเงินที่เกิดจาก
ปัจจัยภายนอกล้วนสามารถป้องกันหรือแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนแนว
นโยบายและ/หรือวิธีบริหารจัดการภายในขององค์กรปกครองท้องถิ่น
ที่สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทภายนอก การดำเนินการในขั้นตอนนี้คือ
การพยายามวิเคราะห์หาสาเหตุที่สามารถเชื่อมโยงมาถึงปัญหาในการ
ปรับตัวทางการเงินและการบริหารงบประมาณรายจ่ายขององค์กรที่กลาย