Page 52 - kpi12626
P. 52

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:     1


                  หมายความว่าท้องถิ่นแห่งนั้นๆ ยังมิได้นำเงินภาษีของประชาชนไปใช้
                  ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้ามากเท่าที่ควร ดังนั้น

                  ในกรณีเช่นนี้ ผู้บริหารท้องถิ่นจะต้องประเมินว่า (3) จะสามารถนำสภาพ
                  คล่องทางการเงินที่มีอยู่เป็นจำนวนมากนั้นไปจัดบริการสาธารณะให้แก่
                  ประชาชนเพิ่มเติมได้หรือไม่ อย่างไร ดังนี้เป็นต้น

                  3.3 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงินของ                        คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                        เทศบาลไทย


                        เพื่อให้ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมองเห็นภาพและ
                  การตีความหมายของผลการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินในด้านสภาพคล่อง
                  ได้อย่างชัดเจน จึงขอนำเสนอผลการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินในด้านสภาพ

                  คล่องของเทศบาลกลุ่มตัวอย่าง 972 แห่งในแง่มุมต่างๆ โดยละเอียด ที่อาจ
                  นำมาซึ่งแนวคิดสำหรับการปรับปรุงการบริหารการเงินการงบประมาณของ
                  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ต่อไป พิจารณาจากข้อมูลในตารางที่ 3-2 หน้า
                  ถัดไป ข้อมูลจากเทศบาลกลุ่มตัวอย่างที่ผู้เขียนได้สำรวจในปีงบประมาณ
                  2552 พบว่าเทศบาลนครและเทศบาลเมืองมีสภาพคล่องทางการเงินในระดับ

                  ที่ต่ำกว่าเทศบาลตำบลโดยเฉลี่ย อัตราส่วนทุนหมุนเวียนของเทศบาลนคร
                  และเทศบาลเมืองมีค่าเท่ากับ 4.66 และ 4.63 ตามลำดับ ในขณะที่ค่า
                  อัตราส่วนทุนหมุนเวียนของเทศบาลตำบลเท่ากับ 7.53 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่มี
                  ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F-stat = 5.464, p<.01)
                  ในทำนองเดียวกัน อัตราส่วนเงินสดของเทศบาลนครและเทศบาลเมืองมีค่า
                  เท่ากับ 4.41 และ 4.55 ตามลำดับ ในขณะที่อัตราส่วนเงินสดของเทศบาล

                  ตำบลโดยเฉลี่ยเท่ากับ 7.43 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่มีความแตกต่างอย่างมี
                  นัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (F-stat = 5.677, p<.01) จึงให้ความหมายว่าสภาพ
                  คล่องของเทศบาลตำบลอยู่ในระดับที่สูงกว่าเทศบาลขนาดใหญ่ดังเช่น
                  เทศบาลนครและเทศบาลเมือง
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57