Page 49 - kpi12626
P. 49

3  การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:


          คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                ในระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี) โดยพิจารณาจากสัดส่วนระหว่างสินทรัพย์
                หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน (ตัวชี้วัดที่ 1) พิจารณาจากสัดส่วนของเงินสด

                (และสิ่งที่ใกล้เคียงเงิน) เทียบกับขนาดของหนี้สินหมุนเวียน (ตัวชี้วัดที่ 2)
                และพิจารณาจากขนาดของหนี้สินหมุนเวียนต่อรายรับรวมของเทศบาล
                (ตัวชี้วัดที่ 3) ทั้งนี้ตัวชี้วัดที่ 2 เป็นการประเมินตามแนวทางการบริหาร
                การเงินแบบอนุรักษ์นิยมที่ว่าถ้าหากท้องถิ่นจะต้องชำระหนี้สินระยะสั้นต่างๆ
                ด้วยเงินสดและสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง (สินทรัพย์ที่สามารถแปลงสภาพ

                เป็นเงินสดได้ทันที) แล้วนั้น จะมีขีดความสามารถในการชำระหนี้ได้มากน้อย
                เพียงใด ส่วนตัวชี้วัดที่ 4 เป็นการประเมินถึงขีดความสามารถของท้องถิ่น
                ในการบริหารจัดเก็บภาษีอากรเพื่อให้มีเงินรายได้สำหรับนำมาใช้จ่ายใน
                กิจการต่างๆ หากท้องถิ่นมีสัดส่วนของลูกหนี้ภาษีในระดับสูงย่อม
                หมายความว่าเงินสดที่จะนำมาใช้ในการปฏิบัติงานมีสัดส่วนที่น้อยลงและ
                อาจทำให้การบริหารสภาพคล่องติดขัดได้ และสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็น

                ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหาร
                จัดเก็บภาษีและเร่งรัดติดตามทวงถามลูกหนี้ภาษีท้องถิ่นต่อไป

                3.2 วิธีการคำนวณและการวิเคราะห์ผล

                      วิธีการคำนวณดัชนีชี้วัดสภาพคล่องทางการเงินทั้ง 4 ประการ พร้อม

                ค่าอ้างอิงจากเทศบาลกลุ่มตัวอย่างในปีงบประมาณ 2552 แสดงดังตารางที่
                3-1 ต่อไปนี้ ทั้งนี้ค่าอ้างอิงของเทศบาลกลุ่มตัวอย่างแสดงเป็นช่วงใน 4
                ลักษณะได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (mean) และค่าลำดับเปอร์เซ็นไทล์
                (percentile) ที่ลำดับร้อยละ 25, 50, และ 75 ตามลำดับ  ผู้บริหารขององค์กร
                                                              6
                ปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเลือกใช้ค่าอ้างอิงที่ลำดับต่างๆ สำหรับการ
                เปรียบเทียบกับสภาพคล่องทางการเงินขององค์กรตนเองได้ตามสมควร


                   6   ค่าเปอร์เซ็นไทล์เป็นค่าที่แบ่งข้อมูลออกเป็น 100 ส่วนเท่าๆ กันเมื่อข้อมูลถูกเรียงจาก
                น้อยไปหามาก ในกรณีของค่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 หมายความว่าหากมีการแบ่งข้อมูลออกเป็น
                25 ส่วนใน 100 ส่วน (หรือ 1 ใน 4) จะมีข้อมูลจำนวนร้อยละ 25 ที่มีค่าต่ำกว่าค่าที่เปอร์เซ็น
                ไทล์ที่ 25 นี้ ดังนี้เป็นต้น
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54