Page 54 - kpi12626
P. 54

การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:     3


                        สาเหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะเทศบาลขนาดใหญ่ดังเช่นเทศบาล
                  นครและเทศบาลเมืองมีขอบเขตภารกิจการให้บริการที่กว้างขวางและมีการ

                  ทำงานในเชิงรุกมากกว่าเทศบาลตำบลทั่วไป จึงมีความจำเป็นต้องใช้จ่าย
                  เงินในการดำเนินงาน (ผ่านการก่อหนี้ผูกพันในระยะสั้น—ดูอัตราส่วนหนี้สิน
                  หมุนเวียนประกอบ) ในระดับที่สูง จึงส่งผลให้มีสภาพคล่องทางการเงินโดย
                  เฉลี่ยที่ต่ำกว่าเทศบาลตำบลนั่นเอง อย่างไรก็ดีค่าเฉลี่ยที่ต่ำกว่าดังกล่าวมิได้  คู่มือสำหรับนักบริหารงานท้องถิ่นในยุคใหม่
                  หมายความว่าเทศบาลนครหรือเทศบาลเมืองโดยทั่วไปจะมีปัญหาในการ

                  บริหารสภาพคล่องในระยะสั้นแต่ประการใด

                        พึงสังเกตว่าเทศบาลนครมีสัดส่วนของลูกหนี้ภาษีต่อรายได้ภาษี
                  ท้องถิ่นที่จัดเก็บเองในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของเทศบาลทั่วไป (ค่าดัชนี
                  เท่ากับร้อยละ 14.55) ข้อมูลดังกล่าวนำไปสู่การตั้งข้อสงสัยถึงระดับ
                  ประสิทธิผลในการบริหารจัดเก็บภาษีของเทศบาลนครที่อาจด้อยกว่า
                  เทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลทั่วไป และให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญประการ

                  หนึ่งคือหากเทศบาลนครต้องการเพิ่มสภาพคล่องในการบริหารเงินสดระยะ
                  สั้น อาจดำเนินการได้โดยการเร่งรัดติดตามการจัดเก็บลูกหนี้ภาษีของ
                  เทศบาล อันจะช่วยให้เทศบาลมีเงินสดในการใช้จ่ายเพื่อการจัดบริการ
                  สาธารณะให้แก่ประชาชนได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น

                        นอกจากนี้แล้ว ข้อมูลในตารางที่ 3-2 ข้างต้นชี้ให้เห็นว่าเทศบาลที่มี
                  ขนาดใหญ่ในแง่จำนวนประชากร โดยเฉพาะเมื่อมีประชากรตั้งแต่ 25,000

                  คนขึ้นไป จะมีสภาพคล่องทางการเงินในระดับที่ต่ำกว่าเทศบาลขนาดเล็ก
                  โดยเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนทุนหมุนเวียนและค่าเฉลี่ยอัตราส่วนเงินสด
                  ของเทศบาลขนาดต่างๆ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ—
                  F-stat = 6.015, p< .01 และ F-stat = 6.553, p< .01 สำหรับตัวชี้วัดทั้งสอง
                  ตามลำดับ) อีกทั้งมีภาระหนี้สินหมุนเวียนที่ต้องชำระคิดเป็นสัดส่วนต่อ
                  รายรับรวมของเทศบาลที่สูงกว่า (มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง
                  สถิติเช่นกัน—F-stat = 32.733, p< .01)
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59