Page 102 - kpi15428
P. 102
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พระราชบัญญัติการพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 มีสาระสำคัญเพื่อ
แก้ปัญหา อนุรักษ์ และพัฒนาที่ดิน โดยให้มีความเป็นปัจจุบันมากขึ้นจาก
พระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2526 โดยมีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการรักษา
สภาพพื้นที่เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ดินถล่ม การให้อำนาจรัฐ
ในการป้องกันความเสี่ยงต่อสภาพพื้นที่ดิน การให้มีการกำหนดกฎหมาย
เกี่ยวกับการสำรวจความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ดิน ซึ่งคณะกรรมการ
พัฒนาที่ดินส่วนใหญ่มาจากหน่วยงานภาครัฐ และมีอำนาจในการจำแนก
วางแผนการใช้ประโยชน์และพัฒนา กำหนดเขตสำรวจ บริเวณการใช้ที่ดิน
เป็นต้น
๏ การสงวนและอนุรักษ์
พระราชบัญญัติพันธุ์พืช (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 เป็นข้อกำหนด
เพิ่มเติมจากฉบับแรก โดยเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับการควบคุมพันธุ์พืชที่ควบคุม
ไปถึงหน่วยงานของรัฐ และปรับข้อกำหนดเกี่ยวกับฉลากบรรจุภัณฑ์ให้มี
ความเป็นสากลมากขึ้น
๏ องค์กรที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.2553 เป็นกฎหมาย
ที่ให้เกษตรกรได้มีโอกาสรวมตัวกันในรูปของสภาเกษตรกร ซึ่งเป็นการ
สนับสนุนสิทธิและการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการกำหนดนโยบายและ
วางแผนด้านเกษตรกรรม เพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มเกษตรกร
พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 เป็นกฎหมาย
9
ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาประเทศด้วยการใช้
9 ยุกติ มุกดาวิจิตร (2550) ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน
ว่าอาจเป็นการส่งเสริมให้เกิดกลุ่มอภิชนซึ่งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในชุมชน ยกอำนาจการตัดสินใจ
ให้กับผู้มีบทบาทนำในชุมชน และยังมีลักษณะปฏิเสธความแตกต่างหลากหลายของชุมชน
ด้วย
9